ธรรมาธิปไตย: จากหลักธรรมสู่หลักการปกครองที่ยั่งยืน: ในยุครัตนโกสินทร์ จากรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 10

Main Article Content

ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม
พระครูปริยัติวิสุทธิคุณ ประจักษ์
พระมหาโชตนิพิฐพนธ์ สุทฺธจิตฺโต
สุรชัย พุดชู

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอ 3 ประเด็น คือ (1) เพื่อนำเสนอหลัก “ธรรมาธิปไตย” ในอาธิปไตยสูตร (2) เพื่อนำเสนอปฐมบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงขึ้นครองราชย์ในยุครัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในรัชสมัยราชกาลที่ 6 -10 และ (3) เพื่อวิเคราะห์หลักปาติโมกข์ซึ่งเป็นแผนแม่บทการปกครอง ตามวิถีธรรม (Dhamma Way) ทางพระพุทธศาสนา มาเป็นแกนกลางในการวิเคราะห์กับปฐมบรมราชโองการ ผลการศึกษาพบว่า หลักธรรมาธิปไตยนี้ ไม่ใช่ระบบการเมืองการปกครอง แต่เป็นแนวความคิดที่ถือหลักความถูกต้อง ความยุติธรรมเป็นหลักในการปกครอง ในอาธิปเตยยสูตรนั้น ได้แบ่ง   อาธิปไตย ออกเป็น 3 คือ 1) อัตตาธิปไตย (ความมีตนเป็นใหญ่) (2) โลกาธิปไตย (ความมีโลกเป็นใหญ่) และ (3) ธัมมาธิปไตย (ความมีธรรมเป็นใหญ่)” ในส่วนของหลักธรรมาธิปไตยนั้น พระพุทธองค์ เน้นที่หลัก “ละอกุศล บำเพ็ญกุศล ละกรรมที่มีโทษ บำเพ็ญกรรมที่ไม่มีโทษ รักษาใจตนให้บริสุทธิ์” และในปฐมบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ไทยในรัชรัชสมัยราชกาลที่ 6-10 นั้นมีปรากฏในรัชสมัย ร.6 และ ร.7 ปรากฎคำว่า  “..ธมฺเมน สเมน...แปลว่า “..โดยธรรมสม่ำเสมอ...” และในรัชสมัย ร.9 และ ร.10 ปรากฏเพียงภาษาไทย คือ “...โดยธรรม...” ดังนั้น เมื่อนำหลักปาติโมกข์ ซึ่งเป็นแผนแม่บทการปกครองตามแนวทางพระพุทธศาสนามาทำการศึกษา ผลปรากฏชัดว่า ในปฐมบรมราชโองการนั้นมีหลักการที่สอดรับกับหลักการของโอวาทปาติโมกข์ในพระพุทธศาสนา คือ เน้นที่การห้ามทำสิ่งไม่ดี สร้างแต่สิ่งดี และมุ่งพัฒนาจิตใจคนเป็นสำคัญ พร้อมทั้งอุดมการณ์และวิธีการทั้งหมดก็มีการสอดรับซึ่งกันและกัน ดังนั้น จึงควรกล่าวได้ว่า ธรรมาธิปไตยนั้น ยังคงเป็นแนวคิดการปกครองที่เหมาะสมกับการเป็นแผนแม่บทของการปกครองเพื่อพัฒนาประเทศ อันนำไปสู่การเป็นประเทศที่มีการปกครองที่ยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กิตติ กันภัย. (2547). นิเทศศาสตร์ในพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เจษฎาภรณ์ รอดภัย. (2557). การศึกษาวิเคราะห์หลักโอวาทปาติโมกข์ในทัศนะของพระเถระในประเทศ

ไทย. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2539). ตามทางพุทธกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมสภา.

พระบุญเกิด อิทฺธิมุตฺโต. (2559). ภิกขุปาติโมกข์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 10(2), 247.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2549). ธรรมาธิปไตยไม่มา จึงหาประชาธิปไตยไม่เจอ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2558). ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

พระอุดมสิทธินายก. (2561). พุทธธรรมาธิปไตย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(2), 240.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิต. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.