การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักไตรสิกขาของโรงเรียน วัดพระพุทธบาทเขากระโดง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ทวีศักดิ์ ทองทิพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาและศึกษาการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักไตรสิกขาของโรงเรียนวัดพระพุทธบาทเขากระโดง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก คัมภีร์พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลแบบบรรยาย ผลของการวิจัยมีข้อค้นพบ ดังนี้
1. ความเป็นมาของโรงเรียนวัดพระพุทธบาทเขากระโดง พบว่า เป็นโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นตามภารกิจของวัดในพระพุทธศาสนาด้านการศึกษาสงเคราะห์ ตั้งอยู่ที่วัดพระพุทธบาทเขากระโดง เลขที่ 1 หมู่ที่ 13 บ้านน้ำซับ ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 31000 จำนวนเนื้อที่ประมาณ 51 ไร่ สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งตามใบอนุญาต เลขที่ บร 1001 / 2552 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ด้านความจำเป็นในการจัดตั้ง เพื่อสนองตอบคำปรารภของคณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสนองตอบภารกิจของวัดในพระพุทธศาสนาด้านการศึกษาสงเคราะห์ สนองตอบนโยบายรัฐและคณะสงฆ์ด้านการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ ผลิตผู้จบมัธยมศึกษาส่งต่อให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ให้เป็นสถานที่ฝึกสอนของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ เพื่อให้เป็นสถานที่ศึกษาดูงานโรงเรียนวิธีพุทธของหน่วยงานทั่วไป ด้านแนวทางในการดำเนินการของโรงเรียนได้กำหนดไว้ในตราสารของโรงเรียน ซึ่งเป็นไปตามที่ได้กำหนดไว้ใน วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ หลักสูตร เป้าหมาย นโยบาย และกลยุทธ์หลักของโรงเรียนด้านพัฒนาการของโรงเรียน ได้มีพัฒนาการทั้งทางด้านบุคลากร ด้านระบบบริหาร ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม ด้านสื่อและแหล่งการเรียนรู้ ด้านอุปกรณ์การศึกษา และด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานและสวัสดิการ ปัจจุบันโรงเรียนสามารถสร้างชื่อเสียงและได้รับความไว้วางใจจากชุมชนเห็นได้จากแต่ละปีการศึกษา ผู้ปกครองได้ส่งลูกหลานเข้ามาเรียนกับทางโรงเรียนเพิ่มขึ้น
2. การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักไตรสิกขา พบว่า โรงเรียนวัดพระพุทธบาทเขากระโดง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ดำเนินการโดยนำเอาหลักไตรสิกขามาใช้เป็นกรอบในการพัฒนาสถานศึกษา เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์สรุปได้ 3 ประเด็นหลักดังนี้


1) ด้านปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ คือ หลักการนำรูปแบบไตรสิกขาไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาจะต้องสร้างปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ 2 ประการให้เกิดขึ้นมาก่อน ได้แก่ (1) ปรโตโฆสะ คือ องค์ประกอบฝ่ายภายนอก เป็นปัจจัยทางสังคม เรียกง่าย ๆ ว่าวิธีการแห่งศรัทธา ซึ่งได้แก่ ทรัพยากรทางการบริหารทุก ๆ องค์ประกอบซึ่งต้องจัดดำเนินการให้มีขึ้นก่อนดำเนินการจัดการศึกษา (2)โยนิโสมนสิการ คือ องค์ประกอบฝ่ายภายใน เป็นปัจจัยภายในตัวบุคคล เรียกง่าย ๆ ว่าวิธีการแห่งปัญญา ซึ่งได้แก่ การทำความเข้าใจในกระบวนการดำเนินงานในทุกขั้นตอนอย่างถูกต้องจนเกิดเป็นสัมมาทิฏฐิก่อนแล้วจึงเข้าสู่กระบวนการพัฒนาตามหลักไตรสิกขาต่อไป ด้านปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิที่โรงเรียนวัดพระพุทธบาทเขากระโดงได้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม คือ ด้านบุคลากร ด้านระบบบริหาร ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม ด้านสื่อและแหล่งการเรียนรู้ ด้านอุปกรณ์การศึกษา และด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานและสวัสดิการ
2) ด้านกระบวนการพัฒนาตามหลักไตรสิกขา คือ การนำเอาปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ อันเป็นทรัพยากรทางการบริหารมาใช้ในการดำเนินงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ด้านกระบวนการพัฒนาตามหลักไตรสิกขา ที่โรงเรียนวัดพระพุทธบาทเขากระโดงได้มีการดำเนินการอยู่อย่างเป็นรูปธรรมมีดังนี้ คือ ด้านการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักไตรสิกขา ด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ที่เป็นกัลยาณมิตร และด้านกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียน
3) ด้านผลสำเร็จที่เกิดจากการใช้หลักไตรสิกขาในการบริหารสถานศึกษา มีดังนี้ คือ (1) ด้านสถานศึกษา ได้มีความพร้อมในด้านทรัพยากรทางการบริหารทุก ๆ องค์ประกอบ เช่น บุคลากร ระบบบริหาร วิชาการ งบประมาณ อาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม สื่อและแหล่งการเรียนรู้ อุปกรณ์การศึกษา สาธารณูปโภคพื้นฐานและสวัสดิการอย่างพอเพียง และ (2) ด้านชุมชน โรงเรียนได้รับความไว้วางใจจากชุมชน เห็นได้จากในแต่ละปีการศึกษาผู้ปกครองจะส่งนักเรียนเข้ามาเรียนกับทางโรงเรียนวัดพระพุทธบาทเขากระโดงเพิ่มมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ.(2541). คู่มือการปฏิบัติงาน โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.
กระทรวงศึกษาธิการ.(2547). “ตัวชี้วัดการ ดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ”. ใน โรงเรียนวิถีพุทธ.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย.
จันทรานี สงวนนาม. (2545).ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร:บริษัทบุ๊คพอยท์ จำกัด.
บูรชัย ศิริมหาสาคร.(2547). เทคนิคการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์. กรุงเทพมหานคร.บริษัท บุ๊คพอยท์ จำกัด.
พระมหาจรรยา สุทฺธิญาโณ.(2546). บทบาทของสถาบันพระพุทธศาสนากับการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2532). การศึกษาที่สากลบนพื้นฐานแห่งภูมิปัญญาไทย.กรุงเทพมหานคร:โครงการตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2546). ทิศทางการศึกษาไทย.(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2546). บทบาทของสถาบันพระพุทธศาสนากับการจัดการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บริษัทพิมพ์ดี จำกัด.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตโต). (2552).วิธีบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่.(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: หจก. ไทยรายวันการพิมพ์.
__________. (2553).ปัญญาต้องคู่กับกรุณาจึงจะพาชาติรอด. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลัย,
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2542). พุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลง
กรณราชวิทยาลัย.
__________.(2546). การพัฒนาการแบบองค์รวมของเด็กไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธรรมสภา.พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2549). พุทธวิธีในการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: บริษัท
สหธรรมิก จำกัด.
ฟื้น ดอกบัว.(2542).พระพุทธศาสนากับคนไทย. กรุงเทพมหานคร: โสภณการพิมพ์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2547).โรงเรียนวิถีพุทธ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลง
กรณราชวิทยาลัย.
__________.(2553). คู่มือการทำวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: หอไตร
การพิมพ์.
__________.(2554). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เมธี ปิลันธนานนท์.(2525). การบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พิทักอักษร.
ราชบัณฑิตยสถาน.(2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2552. กรุงเทพมหานคร: นานมี
บุคส์พับลิเคชั่นส์.
เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2542). พุทธวิธีการสอนจากพระไตรปิฎก. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร:
บริษัทสหธรรมิก จำกัด.
แสง จันทร์งาม. (2540).วิธีสอนของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2548). วัดสระเรียง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช การจัดการ
ศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาดีเด่น. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดีการพิมพ์จำกัด.
ปรีชา กันธิยะ.(2551). “การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนที่พระมีส่วนร่วมในการสอนศีลธรรม”, (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต), บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.
พระมหาจำเริญ ปะการะโพธิ์, (2543). “การดำเนินงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
จังหวัดขอนแก่น”. (รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต) บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พระสมบูรณ์ วิลา. (2544). “ปัญหาการปฏิบัติงานของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัด
นครพนม”.(รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต), บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม.
ภูริสา ปราบริปู. (2535). “ปัญหาการบริหารงานของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ตาม
ทัศนะของผู้บริหาร ผู้สอน และผู้เรียน”. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต).บัณฑิตวิทยาลัย:
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
โรงเรียนวัดพระพุทธบาทเขากระโดง.(2553). คู่มือนักเรียน, บุรีรัมย์: โรงเรียนวัดพระพุทธบาทเขากระโดง.
__________. (2554). ระเบียบวาระการประชุมคณะกรรมการบริหารโรงเรียน ครั้งที่ 3/2554. บุรีรัมย์: วัด
พระพุทธบาทเขากระโดง ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์.