การขอขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2559 : กรณีศึกษาสภาวัฒนธรรม ตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการขอขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2559 : กรณีศึกษาสภาวัฒนธรรมตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด และรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการภาครัฐด้านวัฒนธรรม ตามแนวทาง “การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม” ในกรณีศึกษาสภาวัฒนธรรมตำบลขวาว โดยใช้รูปแบบการศึกษาด้วยการสัมภาษณ์ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติ และประธานสภาวัฒนธรรม
ผลการศึกษาพบว่า
1. การดำเนินการการขอขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2559 : กรณีศึกษาสภาวัฒนธรรมตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด มี 2 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม คือ เซิ้งผ้าหมี่บ้านขวาว และ ผ้าหมี่บ้านขวาว ลายดาวล้อมเดือน ยาบดอกสะแบง
2. การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ยังไม่ได้รับการตอบรับในการให้สภาวัฒนธรรมเข้ามามีส่วนร่วมมากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นการเชิญนักวิชาการหรือผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกร่วมเป็นคณะกรรมการในการบริหารจัดการงานวัฒนธรรม ทำให้การขอขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ยังไม่ได้รับความนิยมจากองค์กรของรัฐในระดับต่าง ๆ และขาดแกนนำที่สำคัญ
Article Details
References
กระทรงวัฒนธรรม. (2561). มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ. 2561.กรุงเทพฯ: กระทรงวัฒนธรรม.
กระทรวงวัฒนธรรม. (2551). สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ,คู่มือการบริหารจัดการงานวัฒนธรรมของภาคีเครือข่ายวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: กลุ่มเครือข่าย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
กระทรวงวัฒนธรรม. (2559). วัฒนธรรมวิถีชีวิตและภูมิปัญญา. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.
กระทรวงวัฒนธรรม. ความหมายแนวคิดและประเด็นเกี่ยวกับ “วัฒนธรรม”. (ออนไลน์). http://www.m-culture.go.th สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2558.
ชวัลลักษณ์ คุณาธิกรกิจ. (2563). การส่งเสริมศักยภาพสภาวัฒนธรรมในการดำเนินงานสงวนและรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้. วารสารรัชต์ภาคย์, 14(34), 186-202.
ทุ่งพานู รอเสนา. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในประเพณีเซิ้งผ้าหมี่ของเทศบาลตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ในตะวัน กำหอม. (2558) การวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยทองสุข.
พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ 2553. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 127 ตอนที่ 69 ก : 39.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). แนวทางการนำภูมิปัญญาไทยเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนและการเรียนรู้ตามอัธยาศัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2546). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์.