รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Main Article Content

ธนู ศรีทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาของประชาคมอาเซียนของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและเพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นการวิจัยแบบผสมโดยประยุกต์ใช้ เทคนิคการวิจัยแบบเดลฟาย แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษา ข้อมูลพื้นฐานเพื่อยกร่างรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระยะที่ 2 การตรวจสอบและปรับปรุงรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย ประชากรที่ใช้ศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่เป็นตัวแทนของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกการ ค้นคว้า แบบสอบถาม แบบตรวจสอบปลายเปิด ใช้วิธีวิเคราะห์แบบบรรยาย


ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาเชิงระบบโดยมีองค์ประกอบหลักในการจัดการศึกษา ดังนี้ 1) ด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย 1.1) การจัดโครงสร้างองค์กร มีความสอดคล๎องกับนโยบายของรัฐ มี ความครอบคลุมภาระงาน มีความชัดเจนในด้านอำนาจหน้าที่ 1.2) บุคลากร มีความสามารถในการใช้ ภาษาอังกฤษได้ระดับดีมาก มีการพัฒนาบุคลากรด้านการใช้ภาษาอังกฤษ การพัฒนาบุคลากรด้านการ ปฏิบัติงาน การแลกเปลี่ยนบุคลากรฝึกงานกับสถาบันการศึกษาต่างประเทศ การสํงเสริมให้บุคลากรมีจิตบริการ 1.3) นิสิต มีนิสิตชาวต่างประเทศเข้าศึกษาร๎อยละ 50 มีการแลกเปลี่ยนนิสิตกับสถาบันการศึกษาต่างประเทศ มีการกำหนดคุณลักษณะของบัณฑิตที่เอื้อต่อความเป็นนานาชาติ 1.4) งบประมาณ มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ทาง การเงิน มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนหลักสูตรนานาชาติอย่างเพียงพอ 1.5) หลักสูตร มีหลักสูตรนานาชาติ ที่บูรณาการเชื่อมโยงความเป็นอาเซียน มีการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ 1.6) แหล่งการเรียนรู้ มีเอกสารการสอนตำราหนังสือวารสารภาษาอังกฤษแต่ละสาขาวิชาที่เพียงพอ มีห้องสมุดอิเลคทรอนิค มีความ ร่วมมือให้บริการห้องสมุดระหว่างสถาบันต่างชาติ 1.7) สื่อเทคโนโลยี มีสื่อเทคโนโลยีการปฏิบัติงานที่เพียงพอ หลากหลาย และพร๎อมใช้งานอยู่เสมอ 1.8) สภาพแวดล้อม มีการจัดบริบทและสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อความ เป็นนานาชาติ
2) ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย 2.1) การบริหารจัดการ มีปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และ แผนงานของมหาวิทยาลัยเอื้อต่อการจัดการศึกษาระดับนานาชาติในประชาคมอาเซียน การบริหารจัดการเป็นไป ตามหลักธรรมาภิบาลสากล มีโครงการความร่วมมือกับองค์กรต่างประเทศ 2.2) การเรียนการสอน คณาจารย์ใช้ ภาษาอังกฤษในกิจกรรมการเรียนการสอน มีรูปแบบการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการบูรณาการการเรียนการ สอนระหว่างรายวิชาและข้ามสาขาวิชา การใช้งานวิจัยเป็นฐานการเรียนรู้ มีการเรียนการสอนที่บูรณาการ เชื่อมโยงประเด็นนานาชาติและวัฒนธรรมข้ามชาติ 2.3) การใช้สื่อการเรียนการสอน คณาจารย์ใช้สื่อเพื่อการ เรียนการสอนทันสมัย มีการให้นิสิตฝึกใช้สื่อที่ทันสมัยในกิจกรรมการเรียนการสอน 2.4) การวัดผลประเมินผล มีการวัดผลประเมินผลโดยใช้เครื่องมือที่หลากหลายด้วยภาษาอังกฤษ มีการวัดผลประเมินผลตามสภาพเป็นจริง มีการวัดผลประเมินผลที่เน้นผลการปฏิบัติของนิสิตอย่างเป็นรูปธรรม
3) ด้านผลผลิต ประกอบด้วย 3.1) คุณภาพบัณฑิต มีมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษา 3.2) ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ มีศักยภาพในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษทั้งในด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียน 3.3) ทักษะการวิจัย มีความสามารถในการค้นคว้าหาความรู้ตามระเบียบวิธีวิจัย 3.4) ทักษะความเป็นประชาธิปไตย มีศักยภาพในการเข้าใจยอมรับและปฏิบัติตามระบอบประชาธิปไตย 3.5) การ ยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม มีความเข้าใจและยอมรับความแตกต่างในวิถีชีวิตของกลุ่มตนเองและกลุ่ม คนอื่น 3.6) ทักษะทางวิชาชีพ มีความรู้และความสามารถในวิชาชีพ ค่านิยม จรรยาบรรณที่เกี่ยวข้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรัส สุวรรณเวลา. (2551).ความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัยไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรินทร์ พิศสุวรรณ. สรุปประเด็นการบรรยาย “อาเซียน 2015 กับอุดมศึกษาไทย”., 2/๙/2558.http://blog.eduzones.com/wigi/81880 ค้นวันที่ ๙ สิงหาคม 2556.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. รายงานผลการตรวจสอบและประเมินคุณภาพ การศึกษาภายใน วิทยาเขตสุรินทร์ ปีการศึกษา 2556.
วิโรจน์ สารรัตนะ.(2553). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา: แนวคิดและกรณีศึกษา. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.