อนูปวาโท : หลักจริยธรรมเพื่อการสื่อสารอย่างสันติ

Main Article Content

พระมหาธนรัฐ รฏฺฐเมโธ

บทคัดย่อ

การสื่อสาร (Communications) เป็นเครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการติดต่อระหว่างสังคมมนุษย์ด้วยกัน “ซึ่งการสื่อสารของมนุษย์นั้นจะต้องใช้ทั้งภาษาถ้อยคำ (วัจนภาษา) และภาษาที่ไม่ใช่ถ้อยคำ (อวัจนภาษา) ควบคู่กันไปในบางโอกาสอาจใช้จำเพาะแต่อวัจนภาษาเท่านั้น แต่ใช้เฉพาะวัจนภาษาอย่างเดียวนั้นเป็นไปไม่ได้” ซึ่งใน“เป้าหมายของขั้นสุดท้ายของการสื่อสาร คือการรับรู้ความหมายร่วมกัน อันจะบรรลุถึงได้ก็โดยการพัฒนาองค์ประกอบทุกส่วนในกระบวนการสื่อสารให้ท่าหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและประสานสัมพันธ์กัน” ในส่วนของพระพุทธศาสนานั้นจัดเป็นศาสนาแห่งกรรมวาที คือเน้นเรื่องการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา (กรรม) เป็นสำคัญ บุคคลจะพูด จะกระทำสิ่งใด ล้วนเกิดขึ้นจากใจ (เจตนา) เป็นสิ่งสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (๒๕๓๙). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย.(๒๕๔๓). พระไตรปิฎกภาษาไทย พระสูตรและอรรถกถาแปล. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหามกฏราชวิทยาลัย.
กิตติ กันภัย. (๒๕๔๗). นิเทศศาสตร์ในพระไตรปิฎก Communications in the Buddha’sTipitaka. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธงชัย สุมนจักร. (๒๕๓๗). ประมวลคาถาธรรมบทภาค ๑-๘. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต).(๒๕๓๙).ตามทางพุทธกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมสภา.