การให้บริการสาธารณะของเทศบาลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

พระพงษ์พัฒน์ ชวโน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้บริการสาธารณะของเทศบาลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ และเพื่อเปรียบเทียบการให้บริการสาธารณะของเทศบาลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และอาชีพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 6,045 คน ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test)
ผลการศึกษาพบว่า การให้บริการสาธารณะของเทศบาลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ทุกด้าน ได้แก่ ด้านแหล่งน้ำ ด้านประปา ด้านไฟฟ้า และด้านถนน ตามลำดับ ส่วนผลการเปรียบเทียบการให้บริการสาธารณะของเทศบาลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการให้บริการสาธารณะของเทศบาลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2549). การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : วิญญูชน จำกัด.
นิภัทร์ พริ้มพราย. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลท่าไม้อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. ปริญญาศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปราณี ทองขันธ์. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มังกร ธุระพันธ์. (2551). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลอาจสามารถ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม.
สถิระ เพ็ชรจู. (2549). การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทศบาลนครเชียงราย. การศึกษาโดยอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
สมพงค์ เขียวเล่ง. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพร่อนในการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สมร ชำนาญภูมิ. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลตำบลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
สุดสาย แดงดี. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะในการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส : ศึกษาเฉพาะกรณีถนน ไฟฟ้าและประปา. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับนักบริหารท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
อารีณา มะหะหมัด. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลตำบลท่าไม้ อำเภอ ท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.