บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน

Main Article Content

พระมหาจำนงค์ สิริวณฺโณ

บทคัดย่อ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปัจจุบันมีหน้าที่ในการสนับสนุนการพัฒนาในด้านต่างๆ บทบาทในการพัฒนาการท่องเที่ยวก็เช่นกันถือเป็นบทบาทหน้าที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดึงความได้เปรียบของทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ มรดกทางวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีอยู่ในท้องถิ่นหรือในชุมชนมาพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม เป็นแหล่งสร้างรายได้ของประชาชนในท้องถิ่นได้ ดังนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องจึงต้องให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนโดยกระตุ้นประชาชนในท้องถิ่นตระหนักและมีส่วนร่วมพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชน โดยมุ่งเน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ประเพณี และวัฒนธรรมท้องถิ่นอันดีไว้ให้กับคนรุ่นหลังได้เรียนรู้ พร้อมทั้งสนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนในลักษณะการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชนเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ นอกจากนั้นจะต้องพัฒนาศักยภาพและคุณภาพของประชาชนในท้องถิ่นเรื่องการให้บริการทางการท่องเที่ยวท่องเที่ยวชุมชน พร้อมกับการสร้างและพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในการให้บริการการท่องเที่ยวชุมชนที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชนความต้องการและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว และที่สำคัญต้องเอาจริงเอาจังกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้ครบวงจรและเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ชัยนุวัฒน์ ปูนคำปัน. (2555). "การท่องเที่ยวโดยชุมชน" (Community-Based Tourism): การสร้าง ขยายเศรษฐกิจและวิถีชีวิตท้องถิ่น. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://prachatai.com/journal/2012/04/39979. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2556.
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
นิคม จารุมณี. (2544). การท่องเที่ยวและการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอ เอสพริ้นดิ้งเฮาส์.
สถาบันพระปกเกล้า.(2550). เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง การขับเคลื่อนรัฐธรรมนูญ’50 สู่การปฏิบัติ : กฎหมายที่เกี่ยวของกับการปกครองท้องถิ่น. วันที่ 11-13. ธันวาคม พ.ศ. 2550. กรุงเทพ: ส.เจริญการพิมพ์. หน้า 10.
สัญญา เคณาภูมิ. (2557). การสร้างกรอบแนวคิดการวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐประศาสนศาสตร์จากการทบทวนวรรณกรรม”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3(1).
สัญญา เคณาภูมิ. (2557). การสร้างกรอบแนวคิดการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์โดยการคิดเชิงเหตุผล. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 16(1), 1-19.
สัญญา เคณาภูมิ. (2557). ปรัชญาการวิจัย : ปริมาณ : คุณภาพ. วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, 3(2).
สัญญา เคณาภูมิ. (2557). รูปแบบการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัยทางการบริหารจัดการ. วารสารมหาวิทยาลัยมหาสารคามมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(3).
สัญญา เคณาภูมิ. (2558). การสร้างกรอบแนวคิดการวิจัยโดยใช้ทฤษฎีจากฐานราก. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(3).
เสาวลักษณ์ สมสุข. (2549) การฟื้นฟูชุมชน : ยุทธศาสตร์การสร้างทุนในสังคม กรณีศึกษาตำบลต้นแบบ อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี . วารสารพัฒนาสังคม, 10(1), 15.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://www.tatreviewmagazine.com/article/cbt-thailand/. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563.
Deniel, W. (1967). A Comparative Survey of Local Government and Administration. Bangkok: Kurusapha Press.