ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาพระไตรปิฎก

Main Article Content

วันชัย ชูศรีสุข
วรภูริ มูลสิน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาพระไตรปิฎก ซึ่งอำนวยผลให้แก่ผู้ศึกษาเรียนรู้พระไตรปิฎกดีแล้ว และเป็นมรดกล้ำค่าแทนความรัก ความห่วงใย ความเมตตากรุณาปรารถนาดี ของพระพุทธเจ้าที่มีต่อพุทธศาสนิกชนและมวลมนุษยชาติทั้งโลก จากการศึกษาเชิงเอกสาร พบว่า พระธรรมวินัยอันเป็นคำสั่งสอนของพระองค์ต่อมาได้พัฒนาการมาเป็นพระไตรปิฎกอำนวยประโยชน์มากมาย  ประโยชน์สูงสุดคือความหลุดพ้นแห่งจิตเข้าสู่พระนิพพาน  พระพุทธโฆสาจารย์สรุปประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาพระไตรปิฎกไว้ว่าทำให้ได้บรรลุวิชา 3 อภิญญา 6 และปฏิสัมภิทา 4  แต่ความจริงแล้วพระไตรปิฎกอำนวยประโยชน์แก่ผู้ประพฤติปฏิบัติตามมากมาย  เมื่อสรุปแล้วอาจกล่าวได้ว่ามี  ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ส่วนรวมคือสังคม  และมีประโยชน์กับพระไตรปิฎกเองด้วย 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และ เสถียรพงษ์ วรรณปก.(ม.ป.ป.) มณีแห่งปัญญา. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: บริษัท ธนธัชการพิมพ์ จำกัด.
________. (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). รู้จักพระไตรปิฎกเพื่อเป็นชาวพุทธที่แท้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โพรดักส์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2542). เก็บเพชรจากคัมภีร์พระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
________. (2542). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
________. (2542). อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺฐกถา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
________. (2542). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาแปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพฯ: เฉลิมชาญการพิมพ์.
________. (2542). ธมฺมปทฏฺฐกถา อฏฺฐโม ภาโค. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2550). พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.