หลักธรรมาภิบาลชาวไทยกูย: วัดบ้านตะเคียน ตำบลสำโรงทาบ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

กฤษนันท์ แสงมาศ

บทคัดย่อ

ธรรมาภิบาลชาวไทยกูยวัดบ้านตะเคียน ที่นำมาประกาศใช้ก็เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาเที่ยวชมงานประจำปีภายในวัดได้นำมาปฏิบัติเป็นการป้องปรามเป็นเบื้องต้นและป้องกันเหตุร้ายเป็นการรักษาความสงบ ที่จะก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินและมีผลกระทบต่อการจัดงานทำให้ไม่สามารถดำเนินงานต่อไปเพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์เป็นผลสำเร็จได้ การแสดงเจตนารมณ์ดังกล่าวก็เพื่อให้ผู้ที่เดินทางจากหมู่บ้านต่าง ๆ มาเที่ยวชมงานประจำปีภายในวัด มีความมั่นใจในความปลอดภัยว่าจะไม่มีเหตุร้ายที่จะมาทำลายบรรยากาศเทศกาลของงานประจำปีของวัดได้ เจตนารมณ์ที่ประกาศภายในวัดเหมือนกับหลักของศีลเพราะศีลแปลว่าความสงบเย็นหรือความเป็นปกติของชีวิตและสังคม ตั้งแต่เรื่องของการไม่มุ่งร้าย เบียดเบียน ทำร้ายทะเลาะเบาะแว้งกัน การไม่ลักทรัพย์ การไม่พกพาอาวุธ ไม่อนุญาตให้นำสุรายาดองของมึนเมาเข้ามาจำหน่ายภายในวัดผู้ใดหรือใครฝ่าฝืนต้องถูกลงโทษนำไปดำเนินคดีตามกฎหมายและปรับตามกฎที่ประกาศโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆทั้งสิ้น เป็นการแสดงเจตนารมณ์ชัดเจนในการป้องกัน ป้องปราม เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตและทรัพย์สินความสุขและความสงบของชุมชนและผู้มาเที่ยวงานประจำปีของชาวไทยกูยวัดบ้านตะเคียน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

รัชยา ภักดีจิตต์. (2555). ธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารภาครัฐและเอกชน. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์ (1991).
พระมหาประสพสุข ปิยภาณี (สุขล้วน). (2554). ประสิทธิภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสมพงษ์ ชนุตฺตโม (อ่อนสุข). (2556). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอบรรตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาธีร์ โมฮัมเหม็ด. (2556). ธรรมาภิบาลกับคอรัปชั่นในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์ปริ้นติ้งแอนด์พับสิสซิ่ง.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
________. (2538). พุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2544). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อรรถวุฒิ ตัญธนาวิทย์. (2544). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
รัตนา สายคณิต. (2546). การบริหารโครงการ:แนวทางสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วันชัย มีชาติ. (2555). การบริหารองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.
พระมหาสมพงษ์ ชนุตฺตโม. (2556). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อมร รักษาสัตย์และคณะ. (2543). ประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน. กรุงเทพฯ: การันต์การพิมพ์.
นพวรรณ สิริเวชกุล. (2541). ข้อมูลและพัฒนาการทางสังคม การปรับตัวต่อปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับการดิ้นรนเพื่อมี ชีวิตอยู่และการผลิตของชาวกูยที่บ้านตากลาง อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ไพฑูรย์ มีกุศล. (2542). กวย : ชาติพันธุ์ ใน สารานุกรมไทย ภาคอีสาน. เล่ม 1 . กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรม วัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพานิช.
ยโสธารา ศิริภาประภากร. (2559). วิเคราะห์คำสอนจากพิธีกรรมเข้าทรงมะม๊วดที่สัมพันธ์กับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเขมร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.