การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ภวดี สวนดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1)  เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์  เรื่องจำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  2) เพื่อสร้างพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์  เรื่องจำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์  เรื่องจำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์  เรื่องจำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียน วัดประชานิมิตร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 31 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 5 ชนิด ได้แก่ รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องจำนวนเต็ม คู่มือการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องจำนวนเต็ม แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบประเมินความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานได้แก่ t-test for Dependent Samples ผลการวิจัย พบว่า  รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์  เรื่องจำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีชื่อว่า  “5 P Model” โดยมีองค์ประกอบ 8 องค์ประกอบ ได้แก่  1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  4) สาระความรู้ 5) ระบบสังคม 6) หลักการตอบสนอง 7) ระบบสนับสนุน และ 8) เงื่อนไขการนำไปใช้ ซึ่งผลการทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ E1/E2 เท่ากับ 80.04/80.22 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 หลังการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่องจำนวนเต็ม สูกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: อักษรไทย
ชัยยงค์ พรมวงศ์. (2537). การทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอนเอกสารประกอบการสอนชุดวิชาสื่อการสอน ระดับประถมศึกษา หน่วยที่ 8 – 15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชวลิต ชูกำแพง. (2555). การวิจัยหลักสูตรและการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2561). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 8). มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.
บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2561). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). มหาสารคาม: ตักศิลาการพิมพ์.
โรงเรียนวัดประชานิมิตร. (2561). รายงานประจำปีของสถานศึกษา2560. นครราชสีมา : โรงเรียน
วัดประชานิมิตร.
โรงเรียนวัดประชานิมิตร. (2560). หลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. นครราชสีมา: โรงเรียนวัดประชานิมิตร.
วนัญชนา เชิงดี. (2555).การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีการแบบเปิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม . ประทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการ. (2561). การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด