กระบวนการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนต่อการส่งเสริม การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดพะเยา

Main Article Content

สุเทพ สารบรรณ
พระมหาพงษ์ประภากรณ์ วิสุทฺธิญาณเมธี
นภดล อินปิง
สิริกานดา คำแก้ว

บทคัดย่อ

กระบวนการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดพะเยา พบว่า (1) ศักยภาพของชุมชนต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา 1.1) ด้านการจัดการการท่องเที่ยวของวัดมีความพร้อมในการให้บริการขั้นพื้นฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้า ห้องสุขา ที่นั่งพัก ถังขยะ ป้ายบอกเส้นทาง 1.2) ด้านรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยว ชุมชนโดยรอบมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับพระพุทธศาสนา ทางวัดมีการจัดกิจกรรมทางศาสนา รณรงค์สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น 1.3) ด้านผลกระทบจากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมควรให้เยาวชนเข้ามามีบทบาทในกิจกรรมกรท่องเที่ยว เช่น มัคคุเทศก์อาสาแนะนำแหล่งท่องเที่ยว (2) การพัฒนาเครือข่ายกระบวนการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดพะเยา ควรเริ่มจากคนในชุมชนต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวม รวมทั้งให้หน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องออกนโยบาย จัดทำโครงการต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้ยั่งยืน (3) ทั้ง 3 วัดมีศักยภาพสิ่งอำนวยความสะดวกที่ค่อนข้างพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยว ซึ่งแต่ละวัดมีสิ่งที่ควรพัฒนาแตกต่างกันเป็นอันดับต้น ๆ วัดศรีโคมคำ (วัดพระเจ้าตนหลวง) ไม่มีแผ่นพับ/เอกสารแนะนำแหล่งท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่แนะนำแหล่งท่องเที่ยววัดพระเจ้านั่งดินมีเส้นทางการเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวบางแห่งมีถนนชำรุด เสื่อมสภาพ ติดกับแหล่งชุมชนที่พลุกพล่าน ทำให้การเดินทางไม่สะดวก และวัดอนาลโยทิพยาราม (ดอยบุษราคัม) มีการก่อสร้างที่ใหม่ ๆ บดบังสถานที่สำคัญของวัด สภาพแวดล้อมโดยรอบเป็นป่าชื้นมียุงหรือแมลงต่าง ๆ อาจจะไม่ปลอดภัยและสร้างความรำคาญแก่นักท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศาสนา. (2557). แนวทางการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเส้นทางแสวงบุญในมิติ ศาสนา. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม: กรมศาสนา.
ธรรมศักดิ์ โรจนสุนทร. (2542). สรุปผลการสัมมนาการพัฒนาการท่องเที่ยวภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2542). มารู้จักหนังสือท่องเที่ยวเชิงนิเวศกันเถอะ. จุลสารการท่องเที่ยว, 18(1), 14-15.
พระธรรมวิมลโมลี. (2550). พระเจ้าตนหลวงวัดศรีโคมคำ ตำบลเวียง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา. พะเยา: นครนิวส์การพิมพ์.
พูนทรัพย์ สวนเมือง ตุลาพันธ์. (2546). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์และร้อยเอ็ด. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองสนับสนุนการวิจัย.
วงศ์ธีรา สุวรรณิน และคณะ. (2557). การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดใน จังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 8(3).
สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2555. (2555). จังหวัดพะเยา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สุนีย์ อภิชาตกุลชัย. (2557). การเสริมสร้างเครือข่ายด้านการท่องเที่ยวเพื่อชุมชนสันติสุข: กรณีศึกษาตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุพรรณิการ์ ขวัญเมือง และเบญจวรรณ โมกมล. (2550). ศักยภาพและความพร้อมของการท่องเที่ยวเชิงสปา จังหวัดเชียงราย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
Arvorn, Chankhanit. (2014). Guideline for Tourism Potentiality Building in WiengHuawSubdistrict Administration Organization, Plan District, Chiang Rai Province from Cultural Tourism Route. Chiang Rai: Chiang RaiRajabhatUniversit.
Godfrey Kerry & Clarke Jackie.(2000). The Tourism DevelopmentHandbook: A Practical Approach to Planning and Marketing. New York: Continuum.
United Nation Organization. (1986). United Nation Department of Internation Economic and SocialAffair. Popular Participation as a Strategy for Promoting Community Level Action and Nation Development. Report of The Meeting for The Adhoc Group of Expert.New York: United Nation.