การนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

รัตน์ชนก แสงอ่วม
โชติ บดีรัฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรต่อการศึกษาการนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นของบุคลากรการศึกษาการนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 3) เพื่อศึกษาแนวทางการนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในเชิงปริมาณ จำนวน 400 คน และเชิงคุณภาพ จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมาน นำมาแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสถิติ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความคิดเห็นของบุคคลากรต่อการศึกษาการนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ทั้งหมด 8 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคสาธารณูปการ รองลงมา คือ ด้านการบริหารจัดการที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านพัฒนาอาชีพและเพิ่มรายได้

  2. เปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นของบุคลากรการศึกษาการนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ระยะเวลาการปฏิบัติงานในหน่วยงาน และปัจจัยการนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาไปปฏิบัติ มีผลต่อการนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านอื่นไม่มีความต่าง

  3. แนวทางการนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก พบว่า แนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจะเกิดผลสัมฤทธิ์ได้จะต้องเริ่มมาจากแนวคิดในการบริหารของผู้บริหาร การประเมินสภาพแวดล้อมสภาพแวดล้อมในทุกๆด้าน ที่มีผลกระทบต่อการพัฒนา สามารถวิเคราะห์ศักยภาพของหน่วยงานโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบ SWOT Analysis จะต้องดำเนินการโดยการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ระดมความคิดเห็น ระดมสมอง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน ต้องร่วมแรงร่วมใจช่วยกันดำเนินการ ก็จะเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของคนในองค์กร และต้องมีการประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมและเป็นแกนหลักในการดำเนินการทุกเรื่องโดยให้ภาครัฐเป็นเพียงผู้สนับสนุนเท่านั้น มุ่งเน้นประชาชนเป็นหลัก โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ต่างๆ ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน การนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาของประชาชนในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สามารถ ยิ่งกำแหง. (2553). แนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของชาวบ้านหินหล่องในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
วิคิเนีย มายอร์. (2554). การศึกษาแรงจูงใจการท่องเที่ยวและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เดินทางมาท่องเที่ยวบ่อน้ำร้อนรักษะวารินและบ่อน้ำร้อนพรรั้ง จังหวัดระนอง. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สุเมธ แสงนิ่มนวล. (2557). ต้นแบบการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย กรุงเทพฯ: สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยสยาม.
อลงกต สารกาล และ ศักดิ์สิทธิ์ ฆารเลิศ. (2561). การศึกษาแนวทางการสร้างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นเลิศ ด้านการเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม : กรณีศึกษาเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด. คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.