การพัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับการจัดสอบ Pre O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2

Main Article Content

จิราพร ยายิรัมย์
สุชาติ หอมจันทร์
กระพัน ศรีงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบ Pre O-NET จัดทำคลังข้อสอบ Pre O-NET และพัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับการจัดสอบ Pre O-NET ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาโปรแกรม วิเคราะห์คุณภาพข้อสอบด้วยทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (Item Response Theory: IRT) แบบ 3 พารามิเตอร์ การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) วิเคราะห์คุณภาพของข้อสอบ Pre O-NET จำนวน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ 2) จัดทำคลังข้อสอบ Pre O-NET จำนวน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ 3) พัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ และ 4) ประเมินพึงพอใจของผู้ทดลองใช้โปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์


ผลการวิจัย ปรากฏว่า


  1. ข้อสอบ Pre O-NET ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ มีค่าอานาจจำแนกของข้อสอบ (a) มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 1.82 ค่าความยากของข้อสอบ (b) เฉลี่ย เท่ากับ 2.18 และค่าการเดาของข้อสอบ (c) เฉลี่ย เท่ากับ 0.19 แสดงให้เห็นว่า ข้อสอบที่อยู่ในคลังข้อสอบ Pre O-NET มีความยากของข้อสอบ (b) ในระดับข้อสอบยาก

  2. คลังข้อสอบ Pre O-NET ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถบรรจุข้อสอบแบบหลายตัวเลือก (Multiple Choice) ชนิด 4 ตัวเลือก ขึ้นอยู่กับขนาดของ Server ซึ่งมีข้อสอบที่ผ่านเกณฑ์การวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (IRT) แบบ 3 พารามิเตอร์ ทั้ง 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 575 ข้อ

  3. โปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ สาหรับการจัดสอบ Pre O-NETระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความเหมาะสมของโปรแกรมอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญ และนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้โปรแกรม มีความเหมาะสมอยู่ในเกณฑ์มาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารุจิตร สิทธิปรุ. (2559). การพัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะ ด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับการจัดสอบ O-NET ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การวัดและเทคโนโลยีทางวิทยาการปัญญา). ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
ดิเรก หอมจันทร์. (2554). การพัฒนาแบบทดสอบปรับเหมาะกับความสามารถของผู้สอน สำหรับการเรียนการสอนสอนอีเลิร์นนิ่ง (E-Learning) รายวิชา 4000107 : เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อชีวิต สาหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. ปัญหาพิเศษ วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
นุภาพรรณ ปลื้มใจ. (2558). การพัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับการจัดสอบ O-NET ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (การวัดและเทคโนโลยีทางวิทยาการปัญญา). ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2538). การทดสอบแบบปรับเหมาะกับความสามารถของผู้สอบ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ทดสอบทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โสฬส สุขานนท์สวัสดิ์. (2559). การพัฒนาวิธีการคัดเลือกข้อสอบข้อถัดไปในการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้ทฤษฎีการตัดสินใจ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด. (การวัดและเทคโนโลยีทางวิทยาการปัญญา). ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.