บทบาทของพระพุทธศาสนาที่มีส่วนพัฒนาการเมืองการปกครองของไทยสมัยสุโขทัย

Main Article Content

วรภูริ มูลสิน

บทคัดย่อ

พระพุทธศาสนามีใช่ระบอบการปกครองมิได้เป็นองค์กรที่มีอำนาจและบทบาทในการบริหารปกครองรัฐหรือประเทศชาติบ้านเมืองโดยตรง บุคคลหรือองค์กรที่ มีอำนาจและบทบาทในการบริหารปกครองรัฐหรือประเทศนั้นได้แก่กษัตริย์หรือพระราชาในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือรัฐบาลในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย การใช้พระพุทธ-ศาสนา เป็นแกนกลางในการเชื่อประสานสามัคคีของประชาชนสมัยสุโขทัยจึงเป็นไปได้ด้วยดีอย่างยิ่ง อีกทั้งกษัตริย์ผู้ปกครองก็ทรงปฏิบัติพระองค์เป็นแบบอย่างที่ดีสมฐานะเป็น "พ่อ" และเป็น "ธรรมราชา" อย่างประเสริฐแท้จริง แม้ต่อมาจะมีการปรับเปลี่ยนบทบาทของกษัตริย์ให้เป็น "เทวราชา" แต่ก็ทรงเป็น "ธรรมเทวราชา" ทรงเป็นกษัตริย์ผู้เป็นสมมติเทพผู้ทรงธรรมที่ทรงได้รับความศรัทธาเคารพนับถือและให้การสนับสนุนจากประชาชนอย่างมั่นคง รูปแบบการบริหารการปกครองที่อาศัยแนวคิดของพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนกระทั่งถึงยุคการเมืองการปกครองปัจจุบันนี้ คือ "ระบบพ่อปกครองลูก" เป็นแนวคิดหลักการเข้าถึงประชาชนอย่างใกล้ชิด ที่ได้รับการบูรณาการเข้ากับกาลเวลา นำมาใช้ให้เหมาะสมกับยุคสมัยในสังคมไทยปัจจุบัน ระบบที่ว่านั้นก็คือ "ประชานิยม"ซึ่งคล้ายกันกับ "ระบบพ่อปกครองลูก"  เพราะเหมือนกันในหลักการและแนวคิด แตกต่างกันเพียงวิธีการและกระบวนการการปฏิบัติเท่านั้นเอง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ลิขิต ธีรเวคิน. (2546). วิวัฒนาการการเมืองการปกครองของไทย. (พิมครั้งที่9). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประเสริฐ ณ นคร.(2531).ประวัติศาสตร์สุโขทัยจากจารึก.ปฐกถาสิรินธร.ครั้งที่ 4.กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2535). ขนบธรรมเนียมประเพณี : ความเชื่อและแนวการปฏิบัติในสมัยสุโขทัยถึงสมัยอยุธยาตอนกลาง.กรุงเทพมหานคร : โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัย ฝ่ายวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สวัสดิ์ ศรลัมภ์. (2520).ประวัติศาสตร์กฎหมาย.กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.