ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

วรภูริ มูลสิน
พัชรเดช เสมานู

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตบริการของเทศบาลตำบลกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 341 คน ซึ่งได้มาจากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) ชนิด 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .98 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test)


             ผลการศึกษาพบว่า 1) ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลกำแพง อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักความมีส่วนร่วม ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักความคุ้มค่า และด้านหลักคุณธรรม ตามลำดับ และ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานตามหลัก         ธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2550). มิติใหม่การปกครองส่วนท้องถิ่น วิสัยทัศน์กระจายอำนาจและการบริหารงานท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เสมาธรรม.
ขจร สุระป้อง. (2557). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในงานโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ธีรยุทธ บุญมี. (2541). สังคมเข้มแข็งธรรมรัฐแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
นงนุช คงประโคน. (2553). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลตะโกพิ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
บวร วิเศษสุนทร. (2550). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
พระพิษณุ คุณสวโร. (2559). การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในองค์การบริหารส่วนตำบลตามทัศนะของประชาชนตำบลเหมืองหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รินทร์ลภัส เลิศศรีชัยกุล. (2559). การบริหารงานของเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา
จังหวัดชลบุรี ตามหลักธรรมาภิบาล. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมชัย กอชัยศิริกุล. (2558). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2554). พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2596 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ.2552. (สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2560) จากhttp://udoncity.dungbhumi.com/public4/sites/default/files/Laws.pdf
อริย์ธัช แก้วเกาะสะบ้า. (2560). “หลักธรรมภิบาลในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560,” ใน บทความวิชาการ Hot Issue. (สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2560) จาก http://www.parliament.go.th