หลักมัตตัญญุตากับการประกันความมั่นคงทางอาหารในมุมมองพระพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งนำเสนอหลักความมั่นคงทางอาหารในโลกในยุคปัจจุบันกับหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาคือ เรื่องอาหารและหลักมัตตัญญุตา และวิเคราะห์หลักประกันความมั่นคงทางอาหารตามหลักมัตตัญญุตา ทั้งนี้ เพื่อมาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ปัจจุบัน ใช้วิธีการศึกษาเชิงเอกสาร จากพระไตรปิฎก และงานวิชาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ความมั่นคงทางอาหาร คือ การเปิดโอกาสให้คนทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารที่เพียงพอปลอดภัย และมีโภชนาการ ทั้งในทางกายภาพและเศรษฐกิจ ช่วยตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจทางอาหาร และมีสุขภาวะ เสาหลักของความมั่นคงทางอาหาร ประกอบด้วย (1) การมีอาหารเพียงพอ (2) การเข้าถึงอาหาร (3) การใช้ประโยชน์จากอาหาร และ (4) การมีเสถียรสภาพทางอาหาร อนึ่ง อาหารในทางพระพุทธศาสนา คือ เครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต มี 4 ประเภท คือ (1) กวฬิงการาหาร อาหาร คือ คำข้าว (2) ผัสสาหาร อาหาร คือ ผัสสะ (3) มโนสัญเจตนาหาร อาหาร คือ มโนสัญเจตนา และ (4) วิญญานาหาร อาหาร คือ วิญญาณ หลักมัตตัญญุตา คือ การรู้จักประมาณ เป็นคำสอนที่สำคัญของการบริโภคอาหารในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นการบริโภคเพื่อการมีสุขภาพที่ดี เกิดสมดุลยภาพทางร่างกาย มีประโยชน์ในการดำรงชีวิตและเกื้อกูลแก่การปฏิบัติธรรม ดังนั้น พระพุทธศาสนา จึงเน้นให้บริโภคอย่างรู้จักคุณค่า ยึดหลักความพอเพียง รู้จักประมาณในการบริโภคที่พอเพียง การเข้าถึงแหล่งอาหารนี้ต้องยึดหลักสัมมาชีพ งดเว้นอาชีพที่เป็นมิจฉาชีพ มีหลักธรรมาภิบาล เมื่อมีหลักสัมมาชีพในการดำเนินชีวิต ความเพียงพอก็บังเกิด การใช้ประโยชน์จากอาหารตามหลักมัตตัญญุตา คือ การรู้จักเลือกบริโภคอาหารด้วยปัญญา เน้นการบริโภคที่คุณค่าที่แท้จริงของอาหาร ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความพอเพียง ไม่เน้นการสนองตอบต่อตัณหา เสถียรภาพทางอาหารตามหลักมัญญุตา คือ หลักเสถียรภาพทางสติปัญญา ที่ใช้ในการดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง คือ ทางที่พอเหมาะพอดี มีสติเพื่อรู้จักประมาณในการบริโภค
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Amarndhamma, U. (2016). Sufficiency Economy Philosophy. 2nd Edition. Bangkok:
Saengdao Press. [In Thai]
Boserup, E. (1965). The Conditions of Agricultural Growth. Chicago: Aldine, 1965.
Bhatinadhu, Ch. (2003). Human rights and the principles of religion. Bangkok: Mental
Health. [In Thai]
Chan-On, N. (2014). Thailand Food Security. Bangkok: Senate Secretariat. [In Thai]
Educator Group of Liangchiangchongcharoen. Bank of Education. Bangkok: n.d.
[In Thai]
Kanjanasorn, W. (2015). “People are obsessed: Body Taste”. Journal of Education.
Khonkaen University. Vol.38 No. 2 (April-June 2015): 8 [In Thai]
Ngamchitcharocn, W. (2009). Theravada Buddhism. 2nd Edition.
Bangkok:Thammasat University Press. [In Thai]
Panyapa, R. (2020). Decoding the Concept of Buddhist Life. Bangkok:
Chulalongkorn Press. [In Thai]
Pechprasoet, N. (1998). One Household, two ways of manufacturing, Exiting the
Thai Economic Crisis. Bangkok: Centre of Political Economics. [In Thai]
Promta, S. (2004). Having in Buddhist Perspective. Bangkok: Chulalongkorn
University. [In Thai]
Prasertsak, V. (2015). “Food Security: From Agricultural Development to Sufficiency
Economy.” Journal of Politics and Government. Vol. 5 No.2 (March –
August):157. [In Thai]
Phra Brahmaghunabhorn (P.A.Payutto), Dictionary of Buddhism Terminology
Edition. 28th Edition. Bangkok: Plai-dhamma press. [In Thai]
Phra Thevedi (P.A.Payutto). (1992). Dictionary of Buddhism. 7th Edition. Bangkok:
Mahachulalongkornrajavidyalaya. [In Thai]
Phra Dhammapitaka (P.A.Payutto). (2009). Sustainable Development. 12th Edition.
Bangkok: Komalkemtong Foundation. [In Thai]
R.B. Lee and I. DeVore, eds. (1968). Man the Hunter. Chicago: Aldine.
Santasombat, Yos. (2013). Human and Culture. 4th Edition. Bangkok: Thammasat
University Press. [In Thai]
Thongprasoet, C. (1990). Ancient Western Philosophy. Bangkok:
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. [In Thai]
Tripitaka. (1996). Mahachulalongkornrajavidyalaya Edition. Thai Language. Book 4,
article 10-19, page 15-26. [In Thai]
Tripitaka. (1996). Mahachulalongkornrajavidyalaya Edition. Thai Language. Book 10,
article 90, page 50-51. [In Thai]
Tripitaka. (1996). Mahachulalongkornrajavidyalaya Edition. Thai Language. Book 11,
article 303, page 250-251. [In Thai]
Tripitaka. (1996). Mahachulalongkornrajavidyalaya Edition. Thai Language. Book 16,
article 11, page 17. [In Thai]
Tripitaka. (1996). Mahachulalongkornrajavidyalaya Edition. Thai Language. Book 21,
article 157, page 217. [In Thai]
Tripitaka. (1996). Mahachulalongkornrajavidyalaya Edition. Thai Language. Book 25,
article 203, page 95. [In Thai]
Tripitaka. (1996). Mahachulalongkornrajavidyalaya Edition. Thai Language. Book 29,
article 199, page 585. [In Thai]
Watthnabhu, B. (2016). Organization Management for Learning Organization in the
Cognitive Constructivism Based. Research Report. Ayutthaya:
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. [In Thai]
Wongsatjachock, W. (2018). Political of Theorizing Food Security: A Survey Research
on Defining Food Security in Governmental, Private, and Civil Society
Aspects in Thailand: Journal of Social Research. Vol. 41 No.1 (January-Jun
: 58. [In Thai]