การศึกษาหลักสัมมาชีพกับการประกอบหัตถกรรมเครื่องเงิน ในอำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

พระบุญสม อนาลโย (ศรีสุข), ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม, พระราชวิมลโมลี

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักสัมมาชีพในทางพระพุทธศาสนา                      2) ศึกษาบริบทของกลุ่มหัตถกรรมเครื่องเงินในอำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 3) ศึกษาวิเคราะห์การประกอบสัมมาชีพของกลุ่มหัตถกรรมเครื่องเงินในอำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ภาคสนาม โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์เชิงลึกแล้วนำเสนอด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า  


            หลักสัมมาชีพในทางพระพุทธศาสนา คือ หลักสัมมาชีพ คือการเว้นจากมิจฉาชีพทุกชนิด เป็นทางแห่งความสุข เป็นเครื่องวัดความเจริญของพระพุทธศาสนา และเป็นอุดมการณ์ของบรรพชิตและคฤหัสถ์ โดยมีเป้าหมายคือ 1) ด้านอัตถะประโยชน์ คือการแสวงหาและบำเพ็ญเพื่อบรรลุประโยชน์หรือจุดมุ่งหมายแห่งชีวิตของตนเอง 2) ด้านปรัตถประโยชน์ คือประโยชน์เพื่อผู้อื่น ได้แก่การช่วยเหลือเกื้อกูลสนับสนุนผู้อื่นให้บรรลุประโยชน์ให้เขาสามารถพึ่งพาตนเองได้ 3) ด้านอุภยัตถประโยชน์ คือประโยชน์ส่วนรวม ได้แก่ การช่วยเหลือเกื้อกูลสนับสนุนประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและคนอื่นหรือส่วนรวม  


บริบทของกลุ่มหัตถกรรมเครื่องเงินในอำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เป็นชุมชนเก่าแก่มากว่า 270 ปี ส่วนหนึ่งเป็นชาวเขมรได้อพยพเข้ามาตั้งรกราก มีความสามารถด้านตีทองตีเงินเป็นเป็นเครื่องประดับ ตกทอดรุ่นสู่รุ่น โดยยึดหลักสัมมาชีพด้านกาย ด้านวาจา และพัฒนาการสร้างรูปแบบสินค้าที่เป็นอัตลักษณ์ของตนเอง เป็นแบรนด์ใหม่ไม่ซ้ำกับของคนอื่น   


           วิเคราะห์การประกอบสัมมาชีพของกลุ่มหัตถกรรมเครื่องเงินในอำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ นำหลักธรรมไปปรับใช้ สัมมาชีพด้านกาย คือ ฆราวาสธรรม อริยทรัพย์ 7 อิทธิบาท 4 กุลจิรัฏฐิติธรรม ปาปณิกธรรม สัปปุริสธรรม ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ และสังคหวัตถุ 4  สัมมาชีพด้านวาจา คือ อริยมรรคมีองค์ 8 สุจริต 3 และศีล 5 รวมถึงทางใจด้วย เนื่องจากการกระทำทางกาย วาจา และใจมีความสัมพันธ์กัน เช่น การไม่โลภอยากได้ทรัพย์คนอื่น และไม่คิดเบียดเบียนคนอื่นเลี้ยงชีพ เป็นต้น


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ข่าวไทยรัฐออนไลน์. (23 ตุลาคม 2563). “อ่วม โควิดยิ่งระบาดหนัก ยอดติดเชื้อทั่วโลก ทะลุเกิน 40 ล้านแล้ว”. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563, จาก https://www.thairath.co.th/news

ประตูสู่อีสาน. (15 กรกฎาคม 2564). อัตลักษณ์อีสานบ้านเฮา. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2564, จาก https://www.isangate.com/new/khmer/32-art-culture/knowledge/563-kreung-ngern.html

พระครูวิจิตรธรรมานนท์ (ฮงทอง). (2555). การศึกษาพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในสังคมตามหลัก,สัมมาอาชีวะของชุมชนเขตตำบลบก อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพเวที (ป.อ.ปยุตฺโต). (2536). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 34. นครปฐม: วัดญาณเวศกวัน.

พระราชวรมุนี. (2529). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสมพาน ชาคโร. (2562). การเสริมสร้างสัมมาชีพของชุมชนผู้ประกอบการค้าขายประคำในจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 19 (1), 267-268.

พระมหาสมพาน ชาคโร. (2562). การเสริมสร้างสัมมาชีพของชุมชนผู้ประกอบการค้าขายประคำในจังหวัดสุรินทร์. รายงานการวิจัย. คณะพุทธศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน. (2559). การประยุกต์ใช้สัมมาอาชีวะเพื่อลดปัญหาการฉ้อโกงทาง การค้า. รายงานการวิจัย. คณะพุทธศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.