ผลสำเร็จของการจัดปริวาสกรรมของคณะสงฆ์อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

พระครูปราสาทสุวรรณกิจ (ปสฺสนฺโต เพชรใส), พระราชวิมลโมลี, ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม

บทคัดย่อ

  บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักคำสอนเรื่องปริวาสกรรมในพระพุทธศาสนา                  2) ศึกษาสภาพการจัดปริวาสกรรมของคณะสงฆ์อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์                                     3) ศึกษาผลสำเร็จของการจัดปริวาสกรรมของคณะสงฆ์อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์                            เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี ผลการวิจัย พบว่า 


  หลักคำสอนเรื่องปริวาสกรรมในพระพุทธศาสนา ปริวาส คือวิธีออกจากอาบัติของภิกษุ ต้องอยู่ปริวาสเท่าจำนวนวันที่ปกปิดอาบัติไว้แล้วอยู่มานัต และประชุมสงฆ์ไม่น้อยกว่า 20 รูป ทำพิธีสวดให้พ้นจากอาบัติสังฆาทิเสส ขั้นตอนสุดท้าย คืออัพภาน จึงจะเป็นผู้บริสุทธิ์จากอาบัติ  สภาพการจัดปริวาสกรรมของคณะสงฆ์อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ มีการจัดระบบที่ชัดเจน แบ่งงานตามหน้าที่แต่ละฝ่าย                      มีการประชาสัมพันธ์ ทางวิทยุกระจายเสียง และสื่อออนไลน์ ปัญหาและอุปสรรค คือขาดบุคลากรที่มีจิตอาสาช่วยงาน คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยสนใจ และวัสดุอุปกรณ์การจัดงานไม่เพียงพอ แนวทางแก้ไข คือประสานงานขอความร่วมมือกับชุมชน สถานศึกษา และวัดในชุมชน ผลสำเร็จของการจัดปริวาสกรรมของคณะสงฆ์อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยการร่วมแรงร่วมใจกันระหว่างวัดกับชุมชน มีหน่วยงานหรือตัวแทนจากหน่วยงานต่าง ๆ และประชาชนมาช่วยงานเป็นอย่างดี ทางวัดผู้จัดได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการและกำหนดภาระหน้าที่แต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน เกิดประโยชน์ต่อพระสงฆ์ คือการประพฤติ           วุฎฐานวิธีเพื่อออกจากอาบัติสังฆาทิเสส  ส่วนประโยชน์ต่อพระสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกา 1) ระดับบุคคล คือ (1) ด้านกาย เป็นผู้มีสุขภาพกายดี (2) ด้านอารมณ์ เป็นผู้สุขภาพจิตดี (3) ด้านปัญญา เป็นผู้มีความเฉลียวฉลาด 2) ระดับสังคม คือด้านสังคม เป็นผู้มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้านบริหารจัดการ, วิทยากร (อาจารย์กรรม) และสถานที่ โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พนิตา เกิดเหมาะ. (2564). แม่ชี. สัมภาษณ์ 15 ธันวาคม.

พระครูประดิษฐ์ธรรมวัฒน์. (2564). เจ้าคณะอำเภอเขวาสินรินทร์. สัมภาษณ์ 15 ธันวาคม.

พระครูนิมิตธรรมโชติ (เหิน พันสนิท). (2559). การจัดปริวาสกรรมของวัดผานกเค้า ตำบลผานกเค้า อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวีรศาสน์โสภณ (สุรินทร์ วิสุทฺธจิตฺโต). (2553). ศึกษาการเข้ากรรมในล้านนา (วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูศิริโสธรคณารักษ์ นาทองไชย. (2561). ต้นบัญญัติปฐมปาราชิก: มูลเหตุที่ทรงบัญญัติสิกขาบทประเภทครุกาบัติในพระปาติโมกข์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9 (2), 231.

พระครูสถิตโพธาภิรม. (2564). เจ้าอาวาสวัดโพธาราม. สัมภาษณ์ 4 ธันวาคม.

พระพุทธโฆสเถระ. (2554). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพรส จำกัด.

พระภานุพงศ์ อนุตฺตโร (โคตรศรีกุล). (2555). ศึกษาการอยู่ปริวาสกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท: กรณีศึกษาวัดสระพังทอง จังหวัดนครพนม (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวิจิตร ธีรญาโณ. (2556). การศึกษาการเข้าอยู่ปริวาสกรรมของพระสงฆ์ไทยในปัจจุบัน (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอธิการเทียม. (2564). เจ้าอาวาสวัดมุจลินท์ธาวาส. สัมภาษณ์ 12 ธันวาคม.

พระอธิการสัมฤทธิ์ ปัญญาธีโป. (2564). เจ้าอาวาสวัดทนงรัตนาราม. สัมภาษณ์ 4 ธันวาคม.

พระอธิการสายแพร กตปุญฺโญ, ดร. (2564). เจ้าอาวาสวัดศาลาเย็น. สัมภาษณ์ 14 ธันวาคม.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เสงี่ยม นิยมทวี. (2564). แม่บ้าน. สัมภาษณ์ 15 ธันวาคม.