ศึกษาเปรียบเทียบประเพณีบุญแซนโฎนตากับประเพณีบุญข้าวสากใน จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

พระใบฎีกาพงษ์พัฒน์ ชวโน (มุมทอง), ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม, พระราชวิมลโมลี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประเพณีบุญแซนโฎนตาในจังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อศึกษาประเพณีบุญข้าวสากในจังหวัดสุรินทร์ และ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประเพณีบุญแซนโฎนตากับประเพณีบุญข้าวสากในจังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า


ประเพณีบุญแซนโฎนตาในจังหวัดสุรินทร์ หรือพิธีไหว้ผีบรรพบุรุษ เป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดกันมานานกว่า 1,000 ปี ตามความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายเขมรในการทำบุญอุทิศให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว แสดงให้เห็นถึงความกตัญญูกตเวที ความเมตตากรุณา ความเคารพรักที่ตนมีต่อท่านผู้จากไป  ส่วนประเพณีบุญข้าวสากในจังหวัดสุรินทร์ เป็นการทำบุญอุทิศให้กับผีบรรพบุรุษ และจะนํา “ข้าวสาก”                     ที่เหลือจากทำพิธีสงฆ์ไปวางไว้ที่นาของตนเพื่อเช่นสรวงตาแฮกด้วย เปรียบเทียบประเพณีบุญแซนโฎนตากับประเพณีบุญข้าวสากในจังหวัดสุรินทร์ จะกล่าวถึงเฉพาะประเด็นสำคัญ ในการทำบุญมีความคล้ายกัน แต่แตกต่างกันในรายละเอียด เช่น ชาวไทยเขมรมี 2 ช่วง คือ ช่วงสารทเล็ก (เบณฑ์ตูจ) ประกอบพิธีวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 และ ช่วงสารทใหญ่ (เบณฑ์ทม) นับไปอีก 14 วัน นับจากวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ถึงวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 ส่วนชาวไทยลาว สารทเล็ก ตั้งแต่วันขึ้น 15 ค่ำ ถึงวันแรม 8 ค่ำ เดือน 10 และสารทใหญ่ ตั้งแต่วันแรม 9 ค่ำ ถึงวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10  พิธีสารทจะประกอบพิธีในวันแรม 14 ค่ำ ช่วงนี้จะมีพิธีเซ่นไหว้ตลอดวัน ซึ่งจะมีระยะเวลายาวนานถึง 15 วัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. (2563). (5 กันยายน 2560). ฮีตที่ 10 บุญข้าวสากหรือบุญเดือนสิบ. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2565, จาก http://www.nectec.or.th/schoolnet/library/webcontest 2003/100team/dlnes060/heet10/heet10.htm.

ชมรมรักษ์โหราศาสตร์ภาคพิธีกรรมบุรีรัมย์. (2563). (25 พฤษภาคม 2554). ประเพณีแซนโฎนตา. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2565, จาก http://horaburiram.igetweb.com/index.php?mo= 3&art=510813.

เพชราภรณ์ โสลาภา. (2537). พิธีกรรมแซนโดนตาที่บ้านกระหาด ตำบลกระหาด อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พระโกศล อุตฺตโร (ทรายเพ็ชร์). (2564). รองเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรีธาตุ. สัมภาษณ์, 28 กันยายน.

พระครูรัตนธรรมานุรักษ์. (2564). รองเจ้าคณะอำเภอรัตนบุรี. สัมภาษณ์, 28 กันยายน.

พระครูโสภณ วรานุรักษ์. (2565). เจ้าคณะตำบลหนองขวาว. สัมภาษณ์, 22 กุมภาพันธ์.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2540). ชีวิตหนึ่งเท่านี้สร้างความดีได้อนันต์. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิ พุทธธรรม.

พระปลัดชีวิน สุขกาโม. (2565). เจ้าคณะตำบลตากูก-ปราสาททอง. สัมภาษณ์, 21 กุมภาพันธ์.

พระมหาศักดิ์ เพชรประโคน. (2540). ผฺกาสรฺโพน: การศึกษาวิเคราะห์สังคม ประเพณี ความเชื่อของ ชาวเขมร (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระอธิการช่วง ฐิตโสภโณ (ตั้งอยู่). (2554). ศึกษาคติทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในประเพณีสารท เดือนสิบ (แซนโฎนตา) ของจังหวัดสุรินทร์ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาอรุณ อรุณธมฺโม ( สุภะโกศล). (2538). อิทธิพลของอรรถกถาธรรมบทต่อพิธีกรรมและประเพณีของชาวอีสาน (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุมาลัย กาลวิบูลย์. (2554). การศึกษาวิเคราะห์ประเพณีสารทเดือนสิบกับแนวคิดเรื่องกรรมและการอุทิศส่วนกุศลในพุทธศาสนานิกายเถรวาท. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 3 (2), 99.

Bhikku Khantipalo. (1970). Buddhism Explained. Bangkok: Thai Wattana Panich Press.

Sam Ath Suon. (2561). ศึกษาเปรียบเทียบพิธีกรรมแซนโฎนตาของชาวพุทธจังหวัดสุรินทร์กับชาวจังหวัดบัณเตียยเมียนเจย์ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.