ผลสำเร็จของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูต ในอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติและพัฒนาการของพระธรรมทูตในอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 2) ศึกษางานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตในอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 3) ศึกษาผลสำเร็จของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตในอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี ซึ่งมีทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก 20 รูป/คน และการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง 226 คน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า
ประวัติและพัฒนาการของพระธรรมทูตในอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เป็น พระธรรมทูตสายที่ 6 ได้ดำเนินงานโครงการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ สถานศึกษาต่าง ๆ เพื่อยกระดับจิตวิญญาณของเด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไป เป็นประจำทุกปี
หลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตในอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ คือ 1) ยึดตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า 2) การพัฒนารูปแบบองค์กรตามยุคสมัยปัจจุบัน 3) การบริหารจัดการภารกิจ 6 ด้านคือ การปกครอง การเผยแผ่ การศาสนศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ การสาธารณูปการ และการสาธารณสงเคราะห์
ผลสำเร็จของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตในอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ผลที่ได้รับเป็นที่น่าพึงพอใจมาก พระธรรมทูตทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา หลักธรรมที่นำไปเผยแผ่ เช่น พรหมวิหาร 4, สังคหวัตถุ 4 และศีล 5 เป็นต้น และมีโครงการเผยแผ่พระพุทธศาสนา อบรมคุณธรรมแก่นักเรียนและประชาชนทั่วไป ให้เข้าใจหลักธรรมมากขึ้น โดยใช้เกณฑ์วัดความพึงพอใจจากแบบสอบถาม และระดับผลสำเร็จของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาคือ ด้านเทคนิค การใช้คำพูด การสร้างบรรยากาศ นักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด ( = 5.00) รองลงมาคือ ด้านเนื้อหาส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักของศีล สมาธิ ปัญญา ( = 4.96) และด้านสื่อ ความดังของอุปกรณ์เครื่องเสียง มีความเหมาะสม ( = 4.90)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2514). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในเอเชียอาคเนย์. กรุงเทพมหานคร : อภิธรรมมูลนิธิมหาธาตุวิทยาลัย.
ทศพร สระแก้ว. (2565). ผู้อำนวยการโรงเรียนนาดี. สัมภาษณ์, 3 กุมภาพันธ์.
พระครูวิบูลธรรมโฆษิต.(2564). เจ้าคณะตำบลเมืองที-บุฤาษี. สัมภาษณ์, 23 ธันวาคม.
พระครูสุตเขตวรธรรม. (2564). เจ้าคณะตำบลนาดี. สัมภาษณ์, 24 ธันวาคม.
พระครูสุตธรรมาภิรัตณ์. (2564). รองเจ้าคณะตำบลเพี้ยราม-กาเกาะ. สัมภาษณ์, 24 ธันวาคม.
พระครูศรีปริยัติวิกรม (วัชรพงษ์ ทินฺนาโภ). (2546). ศึกษาเทคนิคและรูปแบบการเผยแผ่พุทธธรรมของพระเทพสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี. (วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2531). เทคนิคการสอนของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม.
พระมหาสนธิญาณ รักษาภักดี. (2542). การศึกษาความคิดเห็นของผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร พระธรรมทูตต่อการฝึกอบรม ประจำปี พ.ศ. 2541. (วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตร มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร). (2552). ยุคสมัยของความขัดแย้ง : พระสงฆ์ยุคใหม่ควรตีความและเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างไร. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 5(3), 36-37.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สง่า พิมพ์พงษ์. (2551). คู่มือพระธรรมทูต. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สมศรี แก้วกิตติ. (2548). กระบวนการเผยแพร่พระพุทธศาสนาของพระเทพบัณฑิต (ศรีจันทร์ บุญณรโต) วัดบึงพระลานชัย อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.