การขับเคลื่อนตลาดนัดชุมชนสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวางรากฐานของระบบเศรษฐกิจของประเทศที่ดีต้องเริ่มจากเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน การสร้างรายได้ของคนในชุมชนเป็นวิธีการที่แก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้เป็นอย่างดี ด้วยการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการพัฒนาชุมชน ตลาดนัดชุมชนถือเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าของคนในชุมชน เช่น ผักพื้นบ้าน ผลไม้ เนื้อสัตว์ สัตว์น้ำ ตลอดจนวัตถุดิบในการประกอบอาหารต่างๆ ที่มีการผลิตสินค้าไว้เพื่อบริโภคและจำหน่ายในชุมชน ตลาดนัดชุมชนได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากสินค้ามีความสด ใหม่ และราคาถูก และเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรในชุมชนให้มีรายได้ เป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างแท้จริง เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ มาร่วมเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนตลาดนัดชุมชนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลวรรณ ทองอร่าม. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ซื้อและผู้ขายกับปัจจัยทางการตลาดในตลาดนัด เขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. เพชรบุรี:มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
กรมการพัฒนาชุมชน. (2559). แนวทางการดำเนินกิจกรรมตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. กรมการพัฒนาชุมชน.
กรมการพัฒนาชุมชน. (2560). แนวทางการจัดการจัดตลาดนัดชุมชน. สืบค้นจาก https://district. cdd.go.th/ muang-surin/services.
กระทรวงพาณิชย์. (2560). การขับเคลื่อนตลาดชุมชน. สืบค้นจาก http://www.ryt9.Com/s/iq03/2597340.
กระทรวงมหาดไทย. (2560). แนวทางการดำเนินการโครงการตลาดประชารัฐ. กรุงเทพฯ : กระทรวง มหาดไทย.
ธงชัย ธนสถิตย์. (2560). ตลาดนัดชุมชนไทยช่วยไทยคนไทยยิ้มได้. กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมี. บุคสพับลิเคชั่นส.
วันชาติ รู้กิจ.(2545). การสำรวจปัจจัยทีผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครใช้ในการซื้อสินค้าและบริการที่ตลาดนัดจตุจักร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนค รินทรวิโรฒ.
สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2550). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจบนฐานความรู้ของประเทศไทย. สถาบันทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2559). คู่มือการส่งเสริมการพัฒนา “ระบบเศรษฐกิจฐานราก”. กรุงเทพฯ : สำนักสื่อสารการพัฒนา.
สมรักษ์ ชัยสิงห์กานานนท์. (2549). ตลาดในชีวิต ชีวิตในตลาด. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). กรุงเทพฯ: ศูนย์ฯ.
สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน. เล่มที่ 28 เรื่องที่ 3 ตลาด. สืบค้นจาก http://saranukromthai.or.th/sub/ book/book.php?book..
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). สืบค้นจาก www.nesdb.go.th/download/document/SAC/NS_Draftplan-Aug2017.pdf.