แนวทางการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนคุณธรรมต้นแบบอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาวัดวังปลัดสามัคคี จังหวัดสุรินทร์ และวัดป่าวังศิลา จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

พระครูโกศลสมาธิวัตร
พระณัฏฐ์ธนชัย กลฺยาณธมฺโม
ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง“แนวทางการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนคุณธรรมต้นแบบอย่างยั่งยืน” มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดชุมชนคุณธรรมต้นแบบ 2) เพื่อศึกษาแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางพระพุทธศาสนา และ 3) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนคุณธรรมต้นแบบอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาวัดวังปลัดสามัคคี จังหวัดสุรินทร์ และวัดป่าวังศิลา จังหวัดศรีสะเกษ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้องและการสัมมนากลุ่มย่อย(Focus Group Discussion) ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 10 รูป/คน  ผลจากการศึกษาพบว่า 1) องค์ประกอบที่สำคัญของการพัฒนาชุมชนคุณธรรมต้นแบบประกอบด้วย (1) คน (2) สิ่งแวดล้อม และ (3) สถานการณ์ เพราะถ้าในชุมชน มีคนดี มีสิ่งแวดล้อมดี สถานการณ์ในชุมชนก็จะดีตามไปด้วย ส่งผลให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคีอยู่ดีมีสุข พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน 2) การพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางพระพุทธศาสนา มีองค์ประกอบที่สำคัญในการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรม คือ “พลังบวร” อันประกอบด้วย บ้าน-วัด-โรงเรียน โดยวัดมีบทบาทหน้าที่ให้การอบรมกล่อมเกลาสมาชิกในชุมชน โรงเรียนมีบทบาทในการสร้างเยาวชนให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ขณะเดียวกันชุมชนก็มีบทบาทความสำคัญต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน ทั้งในแง่ของการเป็นแหล่งเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยมของสังคม 3) แนวทางการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนคุณธรรมต้นแบบอย่างยั่งยืนของวัดวังปลัดสามัคคี จังหวัดสุรินทร์ และวัดป่าวังศิลา จังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วย การมีกระบวนการในการขับเคลื่อน และเป้าหมายที่สำคัญ คือ คนในชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข โดยมีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ คนในชุมชนมีการเรียนรู้และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสืบสานวิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม เริ่มจากการเปิดพื้นวัดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในงานด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ส่งผลให้คนในชุมชนมีชีวิตพออยู่ พอกิน พอเพียง เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง มั่งคั่ง มันคงยังยืน เป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบให้กับชุมชนตลอดจนหน่วยงานต่างๆ มาเรียนรู้ศึกษาดูงานเพื่อนำไปเป็นปรับใช้กับชุมชนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการศาสนา, กระทรวงวัฒนธรรม. (2562). คู่มือการส่งเสริมและพัฒนาองค์กร ชุมชน อำเภอ และจังหวัดคุณธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กรมการศาสนา, กระทรวงวัฒนธรรม. (2561). การดำเนินงานชุมชนคุณธรรมขับเคลื่อนด้วยพลังบวร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรไทย.

กรมการศาสนา, กระทรวงวัฒนธรรม. (2561). คู่มือการประเมินองค์กร ชุมชุน อำเภอ และจังหวัดคุณธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

กรมการศาสนา, กระทรวงวัฒนธรรม. (2559). การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมด้วยพลังบวร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

กาญจนา บุญยัง, และคณะ.(2552). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในองค์การบริหารส่วนตําบล.กรุงเทพมหานคร : สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา. น. 14.

จิตจำนงค์ กิติกีรติ. (2536). การพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: คุณพิณอักษรกิจ.

พระครูสุจิณธรรมนิวิฐ (สมจิตร อธิปญฺโญ). (2555). บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนกรณีศึกษาคณะสงฆ์อำเภอลอง จังหวัดแพร่. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต) สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาดนัย อุปวฑฺฒโน (ศรีจันทร์). (2557). รูปแบบการบริหารจัดการองค์กรสันติสุขศึกษากรณีวัดปัญญานันทาราม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต) สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาพรประสงค์ พุทธจันทร์. (2552). บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน.(วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต) สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์. (2548) การศึกษาชุมชนเชิงพหุลักษณ์. บทเรียนจากวิจัยภาคสนาม. กรุงเทพมหานคร : โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.). น. 26.