ปัจจัยองค์ประกอบที่มีผลต่อการบริหารงานลูกเสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ไพโรจน์ กันทพงษ์
พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน
ลำพอง กลมกูล

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอ คือ เพื่อศึกษาปัจจัยองค์ประกอบที่มีผลต่อการบริหารงานลูกเสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดปทุมธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานลูกเสือ ได้จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย


ผลการวิจัยพบว่า


องค์ประกอบของปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานลูกเสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดปทุมธานีประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการจัดมวลกิจกรรมลูกเสือ 2) ด้านคุณลักษณะลูกเสือ 3) ด้านคุณลักษณะผู้กำกับลูกเสือ และ 4) ด้านคุณลักษณะผู้บริหาร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (ออนไลน์ 2562). แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้. ประสิทธิภาพ Efficient. กับประสิทธิผล Effective.

คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด. (ออนไลน์ 2557). ร่วมสร้างสรรค์แบ่งปันความรู้เพื่อสังคมแห่งการเรียนรู้ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล.

คู่มือการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือขั้นความรู้ทั่วไป. (2555). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.). ลาดพร้าว.

คู่มือการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ขั้นความรู้เบื้องต้น. (2550). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

ปริตา พืชผล. (2563). การพัฒนาการบริหารงานลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ โรงเรียนเวียงสระ. ค้นคว้าอิสระ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พริกหวานกราฟฟิก จำกัด.

พระราชบัญญัติลูกเสือ. (2551). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย จำกัด.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ศิริ ผิวชัย. (2560). ผลการใช้รูปแบบการบูรณาการหลักธรรมอิทธิบาท 3 กับการจัดกิจกรรมลูกเสือ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 โรงเรียนบ้านลวงเหนืออำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ. (2563). ลูกเสือไทย ณ ปีที่ 109. บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง

จำกัดมหาชน.

สุเมธ สุจริยวงศ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโดยใช้กระบวนการลูกเสือโรงเรียน ประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร (ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. สืบค้นจาก https://www. iok2u.com/index.php/article/information-technology/534-efficient-effective

อำไพ โสดาดี. (2559). บทบาทผู้บริหารกับการนำและการจัดการลูกเสือที่ดีในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เอกพล กาญจน์สำเริง. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารกับความสำเร็จในการบริหารกิจการลูกเสือ ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย.