คณะสงฆ์สุรินทร์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนยุค 4.0 อย่างยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิต 2) เพื่อศึกษาแนวคิดการพัฒนาที่ยังยืน และ 3) เพื่อศึกษาบทบาทของคณะสงฆ์สุรินทร์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนยุค 4.0 อย่างยั่งยืน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) นำเสนอเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่า
1) แนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตนั้นมีความสำคัญต่อการพัฒนาประชากรในแต่ละประเทศเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อประชาชนในประเทศมีคุณภาพชีวิตที่ดีแล้ว ย่อมส่งผลให้การพัฒนาประเทศในด้านอื่นๆ ดีตามไปด้วย 2) แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นหลักสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเพราะความยั่งยืนหมายถึงความคงอยู่อย่างมั่นคงถาวร 3) บทบาทของคณะสงฆ์สุรินทร์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนยุค 4.0 อย่างยั่งยืน คือ พระสงฆ์ในจังหวัดสุรินทร์มีบทบาทต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนเป็นอย่างมาก โดยพระสงฆ์มีส่วนร่วมในการพัฒนาผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน กิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรมโดยมีโครงการครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนเป็นฐานสนับสนุนที่สำคัญในการแสดงบทบาทด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนของพระสงฆ์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมพัฒนาชุมชน. (2555). การพัฒนาหมู่บ้านอีสานเขียวแบบผสมผสานสนับสนุนโครงการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามโครงการน้ำพระทัยจากในหลวง. เอกสารอัดสำเนา,
โกนิฏฐ์ ศรีทอง และคณะ. (2546). “การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธศาสตร์: กรณีศึกษาวัดอัมพวันจังหวัดสิงห์บุรี”. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธาสตร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
ป๋วย อึ้งภากรณ์. (2530). ศาสนธรรมกับการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โกมลคีมทอง.
ดิเรก ฤกษ์หร่าย. (2557). การพัฒนาชุมชน, เน้นหนักการพัฒนาสังคมและแนวคิดความจาเป็นพื้นฐาน.กรุงเทพมหานคร : โครงการตำราพัฒนาชนบท สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พระธรรมปิฏก. (2542). การศึกษากับการวิจัยเพื่ออนาคตของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2553). บทบาทของพระสงฆ์ในสังคมไทยปัจจุบัน : พุทธศาสนากับสังคมไทย, กรุงเทพมหานคร: รุ่งแสงการพิมพ์,
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต ). (2547). ทางสายกลางของการศึกษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,
พระธรรมปริยัติโสภณ (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ). (2548). การคณะสงฆ์และการพระศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กาญจนบุรี: สำนักพิมพ์ธรรมเมธี–สหายพัฒนาการพิมพ์,
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานศาลยุติธรรม. (2558). รายงานสถิติคดีศาลยุติธรรมทั่วราชอาณาจักร ประจำปี 2557. ม.ป.ท.,
ปรียาภรณ์ พวงทัย. (2561). “คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรทางการศึกษาในสหวิทยาเขตชาวดอย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 3”. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(2), 127-136.
WHOQOL Group. WHOQOL-BREF introduction administration scoring and generic version of assessment field trail version. Geneva: World Health Organization 1996.
UNESCO. Quality of life improvement programmes. Bangkok: UNESCO, regional office, 1993.