ปัญหาและแนวทางการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเครือข่าย ภาคกลางตอนบน

Main Article Content

จตุพร มีสกุล, สุรีรัตน์ ณิชาพัฒน์, เกียรติชัย เดชพิทักษ์ศิริกุล, นิตยา มีสุวรรณ, สุนีย์ ลีลาพรพินิจ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  2) เปรียบเทียบสถานภาพของครูภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีผลต่อปัญหาการจัดการเรียนรู้ และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้คือ ครูสอนภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในกลุ่มโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเครือข่ายภาคกลางตอนบน จำนวน 56 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ผลต่างค่าเฉลี่ยรายคู่


          ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาวิธีการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยปัญหาด้านวิธีการสอนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนปัญหาการจัดการเรียนรู้ด้านเนื้อหาหลักภาษาไทยของครูภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับปานกลางทุกขั้นตอน ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือขั้นการวัดและประเมินผล เมื่อเปรียบเทียบสถานภาพของครูภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในด้านเพศ อายุ การศึกษา และประสบการณ์การสอนในโรงเรียน พบว่า มีเพียงปัจจัยด้านประสบการณ์การสอนในโรงเรียนที่มีผลต่อปัญหาการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มี 2 แนวทาง คือ แนวทางที่หนึ่ง คือ การพัฒนาครูผู้สอน ได้แก่ การส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเอง การสร้างระบบพี่เลี้ยงในโรงเรียน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายนอกโรงเรียน แนวทางที่สอง คือ    การพัฒนาผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ การวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล การจัดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน และวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิ่งรัก จบศรี. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 1(2), 6-17.

จิตติขวัญ ภู่พันธ์ตระกูล และคณะ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาอ่านไม่ออก-เขียนไม่ได้ วิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในเขตอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา. (รายงานวิจัยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ชลธิชา ศิริอมรพันธุ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวรรณคดีไทยเชิงผลิตภาพเพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบและสำนึกทางสังคม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ณัฐพงศ์ เชื้อเพชร. (2560). สภาพและแนวทางแก้ไขปัญหาการอ่านสะกดคำและเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). การวิจัยเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 OBEC’S POLICY 2020. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). ระบบจัดการสอบ. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2564, จากhttp://nt.obec.go.th/.

สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). สพฐ. ติดอาวุธการอ่านออกเขียนได้ให้เด็ก มุ่งแก้ไข Learning Loss พร้อมเติมเต็มคุณภาพทั่วประเทศ. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2565, จากhttps://www.obec.go.th/archives678370.

สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). คู่มือการประเมินความสามารถด้านการอ่านปีการศึกษา 2561. สืบค้นเมื่อ10 มกราคม 2565, จาก https://www.facebook.com/ bet.obec.go.th/ posts/1177401715758767/.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการนำจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สุพัตรา คำโพธิ์. (2560). การศึกษาการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยของครูระดับประถมศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงวิชาเอก จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรรถพงษ์ ผิวเหลือง และคณะ. (2563). สภาพการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทย: แนวทางในการแก้ปัญหา.

MBU Education Journal: Faculty of Education Mahamakut Buddhist University, 8(2),