ทัศนคติของประชาชนในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานครที่มีต่อโครงการ ลบประวัติ ล้างความผิด คืนชีวิตให้ประชาชนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

Main Article Content

ณรงค์ฤทธิ์ พุ่มพวง, อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ, พระปลัดสุระ ญาณธโร, รังสรรค์ ประเสริฐศรี

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติของประชาชนในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานครที่มีต่อโครงการ “ลบประวัติ ล้างความผิด คืนชีวิตให้ประชาชน” ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลต่อทัศนคติของประชาชนในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานครที่มีต่อโครงการ“ลบประวัติ ล้างความผิด คืนชีวิตให้ประชาชน” ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวนโดยมุ่งเน้นที่ประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่เขตจตุจักรจำนวน 403 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และ One way ANOVA โดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของ Scheffe ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 25-40 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ และมีรายได้ต่อเดือน 15,001-20,000 บาท

  2. ทัศนคติของประชาชนในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ที่มีต่อโครงการ “ลบประวัติ ล้างความผิด คืนชีวิตให้ประชาชน” ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ 1) ด้านนโยบาย 2) ด้านความรู้ความเข้าใจต่อโครงการ 3) ด้านคุณประโยชน์ของการดำเนินโครงการ

  3. เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลต่อทัศนคติของประชาชนในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานครที่มีต่อโครงการ“ลบประวัติ ล้างความผิด คืนชีวิตให้ประชาชน” ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่า เพศที่แตกต่างกันมีทัศนคติต่อโครงการ“ลบประวัติ ล้างความผิด คืนชีวิตให้ประชาชน” ไม่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลจำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีทัศนคติต่อโครงการ“ลบประวัติ ล้างความผิด คืนชีวิตให้ประชาชน” แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญารัตน์ สว่างกุล. (2564). “ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อตำรวจจราจร สถานีตำรวจภูธรกระทุ่มแบนจังหวัดสมุทรสาคร”. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์และการจัดการสังคม กรมการทหารสื่อสาร1(3): 24-35.

ขจรศักดิ์ ทองสุข. (2556). การศึกษาทัศนคติของชุมชนต่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคารในเขตเทศบาลตำบลหนองไผ่ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. การค้นคว้าอิสระวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ชนะศักดิ์ ศิริทรัพย์. (2554). ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการลบทะเบียนประวัติผู้เยาว์จากการกระทำผิดทางเพศ. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เบญญาภา ทองเมืองหลวง. (2562). “การบริหารจัดการทะเบียนประวัติอาชญากรในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา” วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ. 1(6)

พีร์ พวงมะลิต. (2561). “ทัศนคติและการรับรู้ของประชาชนต่อกฎหมายเกี่ยวกับการปล่อยโคมลอย”.วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์. 2(12)

ภัทรพล ผูกพันธ์. (2563). “ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของตำรวจประจำสถานีตำรวจนครบาลบางนา กรุงเทพมหานคร”. วารสารอาชญากรรมและความปลอดภัย. 2(2)

วรเดช จันทศร. (2554). ทฤษฎีการนำนโยบายไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: พริกหวาน

วีรยุทธ สำเภาทอง. (2562). “ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อตำรวจจราจรสถานีตำรวจนครบาลบางพลัดกรุงเทพมหานคร”. วารสารอาชญากรรมและความปลอดภัย. 1(2)