การจัดการเรียนตามอัธยาศัยเพื่อพัฒนาสุขภาวะภายใต้วิถีชีวิตใหม่สำหรับผู้สูงวัย จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

พรฉลวย เทวสโร (บุญม่วง)

บทคัดย่อ

          การจัดการเรียนตามอัธยาศัยการจัดสภาพแวดลอมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ได้แก่ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ การจัดปัจจัยส่งเสริมการเรียนรู้และการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเอื้อให้บุคคล กลุ่มบุคคล และองค์กรเกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายยืดหยุ่น สามารถตอบสนองต่อความต้องการในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามศักยภาพ ความพร้อม โอกาส ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนรู้สามารถนำประสบการณ์การเรียนรู้มาใช้ประโยชนเพื่อการพัฒนาตนเอง ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตและเพื่อเป็นการพัฒนาสุขภาวะภายใต้วิถีชีวิตใหม่ สำหรับผู้สูงวัยจังหวัดกาญจนบุรี ผู้ศึกษานำเสนอเกี่ยวกับวิถีชีวิตใหม่ของผู้สูงอายุภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย และสังคมจะทำให้จิตใจของผู้สูงอายุเปลี่ยนไปด้วย ผู้สูงอายุจะปรับจิตใจ และอารมณ์ไปตามการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และสิ่งแวดล้อม จะเห็นได้ว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ จะมีการปรับปรุง และพัฒนาจิตใจของตัวเอง ให้เป็นไปในทางที่ดีงามมากขึ้น สามารถควบคุมจิตใจได้ดีกว่าหนุ่มสาว ดังนั้น เมื่อคนเราอายุมากขึ้น ความสุขุมเยือกเย็น จะมีมากขึ้นด้วย แต่การแสดงออก จะขึ้นอยู่กับลักษณะของแต่ละบุคคล การศึกษา ประสบการณ์ และสิ่งแวดล้อมในชีวิตของคนคนนั้นที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นในวัยสูงอายุ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ, (2560). คู่มือโรงเรียนผู้สูงอายุ.กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

กรมการศึกษานอกโรงเรียน. ( 2542). ประสบการณการจัดการศึกษานอกโรงเรียน อดีตถึงปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร : กองพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน

กรมการศึกษานอกโรงเรียน. การศึกษาตามอัธยาศัย แนวความคิดแ ละประสบการณ์. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย กรมฯ. พ.ศ.2544ข บทบรรณาธิการแปล

กรมการศึกษานอกโรงเรียน. (ม.ป.ป.). การพัฒนาสื่อการศึกษานอกโรงเรียน : อดีต ปัจจุบัน อนาคต.กรุงเทพมหานคร : กองพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน

กรมการศึกษานอกโรงเรียน. (2538) การศึกษาตลอดชีวิต : การศึกษาของคนไทยในยุคโลกาภิวัฒน์.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร :

ชนาธิป พรกุล. (2552) การออกแบบการสอนการบูรณาการการอ่านการคิดวิเคราะห์และการเขียน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัชชนก เถาบัว. (2543) .การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เขตการศึกษา 1. วิทยานิพนธ ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปาหนัน กนกวงศ์นุวัฒน์. (2562). การศึกษาระบบบริการสุขภาพ ระบบการจ้างงาน และระบบสวัสดิการสังคมเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาจังหวัดจันทบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 36(4).

ปาน กิมปี. (2544). การพัฒนาเครือข่ายการเรียนรูการศึกษานอกโรงเรียนเพื่อการพึ่งตนเองของชุมชน. วิทยานิพนธ์ค.ด. (พัฒนศึกษา). กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ. (2545 )รายงานการสัมมนา เรื่องกระบวนการและ ยุทธศาสตร์การเรียนรูตลอดชีวิต สําหรับผู้มีอายุสูงกว่า 16 ป.กรุงเทพมหานคร : พิมพดีการพิมพ.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ. (2543) รายงานสรุปการสัมมนา นโยบายส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดการพิมพ์

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ. (2543). รายงานสรุปการสัมมนา นโยบายส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดการพิมพ์

สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต, “คู่มือความสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุ,” คลังความรู้สุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต,accessedOctober2,2022,https://dmh-elibrary.org/items/show/1236.

อุดม เชยกีวงค์. (2544). แนวทางการบริหารและการจัดการ : การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. กรุงเทพมหานคร : กรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ

Joyce,B. and Weil, M. , & Calhoun, E. (2004). Models of teaching. Boston: Allyn and Bacon. p7.