ภาวะหมดไฟในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 2 สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ชารีฟ ประพันธเสน
อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ
พระครูสาธุกิจโกศล
รังสรรค์ ประเสริฐศรี
พระปลัดสุระ ญาณธโร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะหมดไฟในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 2 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 2 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ เจ้าหน้าที่กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 2 จำนวน 200 คนจากการแทนค่าสูตรของ Taro Yamane ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.967 ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ สถิติ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างจึงเปรียบเทียบรายคู่ตามวิธีการของฟิชเชอร์ (LSD) ผลการวิจัยพบว่า


  1. ภาวะหมดไฟในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 2 สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.75, S.D. = .669) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านความรู้สึกด้อยสัมพันธภาพต่อบุคคล ( = 2.82, S.D. = .636) ด้านความรู้สึกไม่ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติงาน (  = 2.7, S.D. = .752) และด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ ( = 2.67, S.D. = .939) ตามลำดับ

  2. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า  อายุ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน เงินเดือนที่แตกต่างกัน
    มีภาวะหมดไฟในการปฏิบัติงานที่ไม่แตกต่างกัน สำหรับสถานภาพสมรสและบทบาทในครอบครัวที่แตกต่างกันมีภาวะหมดไฟในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารุวรรณ ทองขุนดำ, พร้อมพิไล บัวสุวรรณ, และ มีชัย ออสุวรรณ. (2565). ภาวะหมดไฟของครูที่

ไม่มีวิทยฐานะสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2 วิทยา

เขตรัชโยธิน. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(2) , 1083 - 1096.

ฉัตรชกรณ์ ระบิล, และวิลาสินี จินตลิขิตดี. (2564). ภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรในสำนักงาน

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสวนสุนันทาวิชาการ และวิจัย, 15(2) , 60-79.

ปทุมรัตน์ สกุลพิมลรัตน์. (2554). ภาวะหมดไฟในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท วีรับเบอร์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด. การศึกษาค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรพรรณ ปฐมสุนทรชัย. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค ความเหนื่อยหน่ายในงาน และการรับรู้ความสามารถของตนเอง. กรณีศึกษา บริษัทให้คำปรึกษาด้านโภชนาการและความงามแห่งหนึ่ง. สืบค้นจาก https://doi.nrct.go.th/ ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/TU.res.2008.76

สภากาชาดไทย. (2565). Burn out ภาวะหมดไฟในการทำงาน. สืบค้นจากhttp://doh.hpc.go.th /bs/topicDisplay.phpid=273

เหมือนขวัญ จรงค์หนู, และนนทิรัตน์ พัฒนภักดี. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะหมดไฟและ

ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัย.

วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า

พระนครเหนือ, 13(2) , 48-61.

Maslach, C. and Jackson. S. E. (1986). Maslach Burnout Inventory Manual. (2nd Edition). Palo Alto: Consulting Psychologists Press.

Halewood, A. & Tribe. R. (2003). What is the prevalence of narcissistic injury among trainee counseling psychologist. Psychology and Psychotherapy: Theory, Research and Practice. 76, 87-102.