การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ

Main Article Content

มินตรา ธงภักดี
ชวนพิศ รักษาพวก

บทคัดย่อ

            บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบทักษะการฟัง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบทักษะการพูด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยการจัดการเรียนรู้แบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test dependent sample)


          ผลการวิจัย พบว่า


  1. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ มีคะแนนทักษะการฟังหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ มีคะแนนทักษะการพูดหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชกร ธิปัตดี. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ไกรษร ประดับเพชร. (2561). การพัฒนาแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ4R เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. งานวิชาการ. โรงเรียนไตรคามประชาสรรค์.

ชัชจิรา จำปาทอง. (2563). ผลของวิธีสอนด้วยท่าทางต่อความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ชัชรีย์ บุนนาค. (2561). ปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยและข้อเสนอแนะด้าน ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ปี 2564 – 2568. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ (ครั้งที่ 2). Graduate School Conference 2018. (15 พฤศจิกายน 2562). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ, น. 235 – 241.

ชื่นชีวัน คำเรืองศรี. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและความใฝ่เรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรมการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ชั้นประถมศึกษ ปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

ทิพย์วลี สุขปาน. (2560). การใช้วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยยท่าทาง เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง และการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ทิพพดี อ่องแสงคุณ. (2535). กิจกรรมและสื่อการสอนวิชาภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตรการสอน. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ธีรวัฒน์ มูลเงิน. (2560). การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเรื่อง MY HOMETOWN โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

นงเยาว์ ทองกำเนิด. (2558). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยบูรพา.

นันท์นภัส จอมหงส์พิพัฒน์. (2552). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษสําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

นิตยา ศรีวัลลภ. (2562). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ ผสมผสานกับวิธีการสอนแบบการตอบสนองด้วยท่าทาง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

พรสวรรค์ สีป้อ. (2550). สุดยอดวิธีสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

ภัทรวดี ปันติ. (2558). ผลการใช้วิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางที่มีต่อทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษและกล้าแสดงออกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนกมล-เรียมกุโกศล (บ้านผาใต้). วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สถาบันภาษาอังกฤษ. (2558). คู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สุพินดา คำเสน. (2560). การพัฒนาการฟังและการพูดภาษาญี่ปุ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ TPR. วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

สุพินดา คำเสน. (2560). การพัฒนาการฟังและการพูดภาษาญี่ปุ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ TPR . บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

แสงระวี ดอนแก้วบัว. (2558). ภาษาศาสตร์สำหรับครูสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

Asher J. (1979). The total physical response: Theory and practice. New York: The New York Academy of Sciences.

Asher J. (1982). Learning another language through actions The complete teachers’ guidebook. Los Gatos, CA: Sky Oask.

Krashen, S.D. & Terrell, T.D. (1983). The Natural Approach. Great Britain : The Alemany Press/Pergamon Press Ltd. Linguistics.