การบริหารความเสี่ยงที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านงบประมาณ ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการบริหารความเสี่ยงที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านงบประมาณของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในประเทศไทย จำนวน 46 แห่ง โดยผู้วิจัยกำหนดให้ หัวหน้าส่วนคลังและทรัพย์สินและบุคลากรสายปฏิบัติการที่ปฏิบัติงานด้านแผนงานและงบประมาณ ด้านการเงิน ด้านบัญชี และด้านพัสดุ เป็นผู้ตอบแบบสอบถาม ได้รับแบบสอบถามตอบกลับจำนวน 149 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติการถดถอยพหุคูณเพื่อทดสอบสมมุติฐาน จากผลการทดสอบพบว่า การบริหารความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน ด้านการเงิน และ ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ มีผลกระทบเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านงบประมาณของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในประเทศไทย ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานไว้อย่างชัดเจน และส่งเสริมให้มีการจัดทำคู่มือเกี่ยวกับ กฎ ระเบียบข้อบังคับให้เป็นปัจจุบันและเป็นมาตรฐานเดียวกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2561). Risk Management Principles and Guidelines ISO 31000: 2009. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.iok2u.com/index.php/article/e-book/196-iso-31000-2009-riskmanagement-principles-and-guidelines-iso-31000-2009
จันทิมา วงศ์วรรณ. (2555). ผลกระทบของวิสัยทัศน์และนโยบายการบริหารงานที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยงของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต). มหาสารคาม. มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.
ฐิติรัตน์ ดาทอง. (2560). ผลกระทบของการบริหารความเสี่ยงที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหาร
งบประมาณของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในประเทศไทย. ศรีสะเกษ:
วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
นลพรรณ บุญฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ
สาธารณะ วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
พรธิดา สีคำ. (2560). อิทธิพลของกระบวนการตรวจสอบภายใน และการบริหารความเสี่ยงที่มีต่อ
ประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
กรุงเทพมหานคร: ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
เพ็ญศรี คำกลิ่น.(2561). การวิเคราะห์ความเสี่ยงการปฏิบัติงานด้านการเงินและพัสดุ ของบุคลากร
มหาวทิยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
รักษิณา ใจจันทร์ และคณะ. (2563). “ผลกระทบของการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง
ต่อการปฏิบัติงานด้านการเงิน บัญชี และพัสดุของมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย” .วารสารเทคโนโลยีภาคใต้.
ลัทธวัฒน์ เฉลิมรักษ์. (2563). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของตำรวจรัฐสภา. กรุงเทพ:
มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
วรรณวิภา จันทร์หอมกุล. (2559). การบริหารความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยใน
กำกับของรัฐ. กรุงเทพมหานคร: ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
ศิริพร พึ่งพรพรหม. (2557). ผลกระทบของการบริหารความเสี่ยงทางการเงินที่มีต่อ
ประสิทธิภาพองค์กรของธุรกิจส่งออกข้าวหอมมะลิในประเทศไทย. มหาสารคาม
วิทยานิพนธ์ ปริญญาเศรษศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อุทัสน์ วรีะศักดิ์การุณย์. (2556). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความต้องการในการปฏิบัติงานของ
ข้าราชการตำรวจ กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน. ปทุมธานี: ภาคนิพนธ์ปริญญารัฐ
ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจและกระบวนการยุติธรรม,
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
อัครเดช ไม้จันทร์.(2560).ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่ม
อุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสานการผลิตในจังหวัดสงขลา. สงขลา: ปริญญาบริหารธุรกิจ
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Certo, C. S. (2000). Modern Management. 8th ed. Upper Saddle River. New Jersey: Prentice Hall.
Simon, H. A. (1960). Administrative behavior. New York: The McMillen.