การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

หรรษนันท์ ขันโอฬาร
พระปลัดสุระ ญาณธโร
พระครูปริยัติปัญญาโสภณ
โชติวัฒน์ ไชยวรรณ

บทคัดย่อ

   บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ 


การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี เป็นการสำรวจด้วยแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากัน 0.817 กับกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในพื้นที่เขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม จำนวน 392 คน สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที และด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูป/คน นำเสนอเป็นความเรียงเพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ


 


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. 1. ระดับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 66 S.D. = 0.69) ส่วนระดับความคิดเห็นต่อหลักอิทธิบาท 4 ที่นำมาประยุกต์ใช้เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาชุมชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

  2. 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม พบว่า ประชากรที่มีเพศ การศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นไม่ต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วน อายุ อาชีพ รายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน ดังนั้น จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

  3. 3. แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม พบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูมได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมประชุมเพื่อเสนอปัญหาความต้องการของชุมชมเพื่อการพัฒนาชุมชน มีการนำหลักอิทธิบาท 4 มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุมชน ที่ทำให้ประสบความสำเร็จเป็นบันไดแห่งความสำเร็จ  มีความมุ่งมั่นให้บริการแก่ประชาชน มีการพัฒนาชุมชนสู่ตำบลที่ยั่งยืน

Article Details

How to Cite
ขันโอฬาร ห. ., ญาณธโร พ. ., พระครูปริยัติปัญญาโสภณ, & ไชยวรรณ โ. . (2025). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 16(1), 71–84. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/268828
บท
บทความวิจัย

References

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2537). รายงานการวิจัยเรื่องวัฒนธรรมกับศักยภาพชุมชน. มูลนิธิหมู่บ้านสถาบันพัฒนาชนบท.

ชัยฤทธิ์ เบญญากาจ. (2547). การมีส่วนร่วมของประชาคมในการพัฒนาตำบลตาวา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. (กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์..

ชิต นิลพานิช และกุลธน ธนาพงศธร. (2532). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชนบท. ในเอกสารการสอนชุดวิชาความรู้ทั่วไปสำหรับการพัฒนาระดับตำบลหมู่บ้าน. พิมพ์ครั้งที่ 3. หน่วยที่ 8. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณัฏฐวุฒิ ทรัพย์อุปถัมภ์. (2558). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ณัฐนรี ศรีทอง. (2552). การเพิ่มศักยภาพภาวะความเป็นผู้นำในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ที่ โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ดิเรก ก้อนกลีบ และวิชล มนัสเอื้อศิริ. (2530). การพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร: สำนักส่งเสริมและฝึกอบรมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทรงกรด ไกรกังวาร. (2550). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. (คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ทวีทอง หงส์วิวัฒน์. (2527). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. นครปฐม: ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานคร: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

ธีรพงษ์ แก้วหาวงษ์. (2544). กระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง. ขอนแก่น: คลังวิทยา.

ธีรยุทธ บุญมี. (2536). สังคมเข้มแข็ง. กรุงเทพมหานคร: มิ่งมิตร.

นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2546). การมีส่วนร่วมหลักการพื้นฐาน เทคนิคและกรณีตัวอย่าง. กรุงเทพมหานคร: 598 ปริ้นท์.

นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2527). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประพันธ์ บรรลุศิลป์. (2531). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมและการไม่มีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐานของจังหวัดอุบลราชธานี. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประเวศ วะสี. (2546). ความจริงของความจน. กรุงเทพมหานคร: คณะทำงานวาระทางสังคม สถาบันวิจัยสังคม. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรัชญา เวสารัช. (2528). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมเพื่อพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรพิไล เลิศวิชา. วัฒนธรรมไทยกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2535.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร. (2552). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของประชาชนเขตดุสิตกรุงเทพมหานคร.

รายงานวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุภชัย ตรีทศ. (2547). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนต่อการวางแผนพัฒนาเทศบาลเมืองชลบุรี. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ. (ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

เสริมพงษ์ อยู่โต. (2558). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของประชาชนเขตบางคอแหลมกรุงเทพมหานคร. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

เสริมพงษ์ อยู่โต. (2551). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของประชาชนเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.