การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครู สหวิทยาเขตเดชนาอุดม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ

Main Article Content

ภัทราภา แสงงาม
เมธาวี โชติชัยพงศ์

บทคัดย่อ

            บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครู สหวิทยาเขตเดช   นาอุดม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ปีการศึกษา 2566 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 165 คน และผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 และแบบสัมภาษณ์ ชนิดกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา 


            ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพปัจจุบันภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครู สหวิทยาเขตเดชนาอุดม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ปีการศึกษา 2566 โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครู โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การสร้างแรงบันดาลใจเพื่อการบริหารจัดการชั้นเรียน

  2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครู สหวิทยาเขตเดชนาอุดม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ปีการศึกษา 2566 ที่สำคัญสูงสุด 3 อันดับแรก ดังนี้ 1) ผู้บริหารควรจัดประชุมชี้แจงร่วมกับครูเพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในการสร้างและพัฒนาหลักสูตร ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเทคนิคการสอน และการจัดทำแผนการเรียนรู้ เพื่อกระตุ้นให้ทุกคนเกิดแรงผลักดันในการทำงาน 2) ผู้บริหารควรแสดงออกทางอารมณ์และความคิดอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดความนับถือ และ 3) ผู้บริหารควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการสร้างทัศนคติเชิงบวกที่ถูกต้อง ส่งเสริมให้ครูเป็นแบบอย่างให้แก่นักเรียน และประเมินพฤติกรรมของครูอย่างต่อเนื่อง

Article Details

How to Cite
แสงงาม ภ. ., & โชติชัยพงศ์ เ. . (2025). การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครู สหวิทยาเขตเดชนาอุดม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 16(1), 144–156. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/271095
บท
บทความวิจัย

References

เกศสุดา วรรณสินธ์. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ฐิติณัฐ ปรุงชัยภูมิ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นาทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

ฐิภารัตน์ สมสมัย. (2557). ขวัญกำลังใจที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา อำเภอสนามชัยเขต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครรินทร์.

ณัฐพงศ์ จันทนะศิริ, กังสดาล ธนธรรม และ สุทธิศรี สมิตเวช. (2559, 4 ตุลาคม). GURU ครูมืออาชีพ (Professional Teacher). สืบค้นจาก https://www.trueplookpanya.com/dhamma/content/50207

ธิดา เมฆวะทัต. (2562). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 9 (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ธีรศักดิ์ สารสมัคร, ไพรวัลย์ โคตรตะ และ ชวนคิด มะเสนะ. (2563). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษา 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 5 “การวิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Research to Make A CHANGE)” (348-358). มหาวิทยาลัยราชธานี.

นพวรรณ เถายะบุตร. (2557). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปาริชาต สมใจ. (2556). อิทธิพลของภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาต่อประสิทธิผล ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มานา ชื่นใจ. (2558). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

รัตนา คนไว. (2565). ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

โรงเรียนเดชอุดม, โรงเรียนท่าโพธิ์ศรีพิทยา, โรงเรียนทุ่งเทิงยิ่งวัฒนา, โรงเรียนทุ่งศรีอุดม, โรงเรียนนากระแซงศึกษา, โรงเรียนนาเยียศึกษารัชมังคลาภิเษก, โรงเรียนนาส่วงวิทยา. (2565). รายงานผลการประเมินตนเอง (Self Assessment Report: SAR) ปีการศึกษา 2564. อุบลราชธานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ.

วัชรินทร์ สิทธิพร. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู กศน. ตำบล สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดระยอง (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิริวัฒน์ เมฆมล, สุรางคนา มัณยานนท์ และ สุรศักดิ์ หลาบมาลา. (2565). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วารสารพุทธศาสตร์ มจร อุบลราชธานี, 4(2), 819-828. สืบค้นจาก https://drive.google.com/file/d/12ua_0Ps1qT3cNpqUDtQJNy52yveAl2kK/view

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ. (2565). รายงานผลการดำเนินงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. อุบลราชธานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2553. กระทรวงศึกษาธิการ.

สุมนา ศรีกงพาน. (2560). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1994). Improving organization effectiveness through transformation leadership. London: Sage.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610. https://doi.org/10.1177/001316447003000308