ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี อายุ 30-60 ปี ตำบลกฤษณา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

สุนิสา สุขชูศรี
วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี อายุ 30-60 ปี 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี อายุ 30-60 ปี 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก กับการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี อายุ 30-60 ปี 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ทัศนคติต่อการรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก กับการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี อายุ 30-60 ปี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ไคสแควร์ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชากรเพศหญิง อายุ 30-60 ปี จำนวน 227 คน ที่อาศัยอยู่ในตำบลกฤษณา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ได้จากการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ผลการวิจัยพบว่า


              1) สตรีส่วนใหญ่ไม่เข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (ร้อยละ 60.4)


              2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี ได้แก่ อายุ สถานภาพ สมรส รายได้เฉลี่ยของครอบครัว การมีบุตร การคุมกำเนิด การได้รับข่าวสาร การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก ทัศนคติต่อการรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข (2554).การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก. (ออนไลน์). แหล่งที่มาจาก: http://www.nci.go.th. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2566

กระทรวงสาธารณสุข (2551). มะเร็งปากมดลูก ปัจจัยเสี่ยง. (ออนไลน์). แหล่งที่มาจาก: http://medinfo2. psu.ac.th/cancer/db/news_showpic.php?newsID=383&tyep_ID=2. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2566

กรมการแพทย์ (2564). การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก. (ออนไลน์). แหล่งที่มาจาก: https://pr. moph.go.th/. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2566

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข(2557). สถิติผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย.(ออนไลน์). แหล่งที่มาจาก: https://www.hfocus.org/content/2014/09/8051. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2566

ชัชวาล นฤพันธ์จิรกุล,รัตนา ธรรมวิชิต และธานินทร์ สุธีประเสริฐ.(2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ พฤติกรรมการตรวจมะเร็งปากมดลูกของสตรีเทศบาลเมืองสุพรรณบุรีจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 23(6), 1022-1031

นันทิดา จันต๊ะวงค์ (2559). ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 28(1), 63-79

ปิยปราชญ์ รุ่งเรือง และ รุจิรา ดวงสงค์. (2561). ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30–60 ปี ในตำบลหนึ่งของอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสาร โรงพยาบาลสกลนคร

เพ็ญนิภา ชำนาญบริรักษ์ และ เพ็ชรศักดิ์ อุทัยนิล.(2565). ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกของสตรี ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขวา. วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ภูนรินทร์ สีกุด และคณะ (2564). ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมารับบริการตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก ของสตรีกลุ่มเสี่ยง ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขมูลฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สุขุมาล โพธิ์ทอง. (2561). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีในพื้นที่ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 32(2): 966-970

สุจิตรา พิมรัตน์. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตรวจมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30-60 ปี พื้นที่ตำบลหนองไผ่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี (2566) .รายงานสรุปผลการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ตาม ตัวชี้วัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี ปี 2563-2565

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบางปลาม้า. (2565). รายงานสรุปผล การดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปีงบประมาณ 2565. สุพรรณบุรี: กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศสาธารณสุขอำเภอบางปลาม้า

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านราษฎร์บูรณะ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกฤษณา. (2566). ฐานข้อมูลประชากรจากโปรแกรม Hosxp PCU

อินทิรา สิทธิโคตร (2559). ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็ง ปากมดลูกของสตรี โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ.ศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปะศาสตร์. : มหาวิทยาลัยเกริก

World Health Organization. Cervical cancer. (ออนไลน์). แหล่งที่มาจาก: https://www.who.int/ news-room/fact-sheets/detail/cervical-cancer. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2566

Daniel WW. (2010). Biostatics : Basic Concepts and Methodology for the Health