การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

ปัญญา ใจวิวัฒน์พงศ์
วิราสิริร์ วสีวีรสิว์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ต่อเดือน อาชีพสถานภาพ ระดับการศึกษา และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคมกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 311 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่และการวิเคราะห์ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


            ผลการศึกษาพบว่า


  1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลโคกคราม อำเภอ           บางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี อยู่ในระดับปานกลาง  คิดเป็นร้อยละ 50.8

  2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p - value <0.05) ได้แก่ อายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือน และแรงสนับสนุนทางสังคม

            3. ผลการศึกษาครั้งนี้ เสนอแนะให้หน่วยงานในพื้นที่เร่งดำเนินการนโยบายในการเผยแพร่ ความรู้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่อย่างทั่วถึง และส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกเพื่อประชาชนเกิดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม เช่น การจัดให้ความรู้โดยประประชาคมในชุมชนเพื่อรับทราบการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. (2556). รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2566, จาก https://lookerstudio.google.com.

กิตติ วงศ์ปทุมทิพย์. (2560). การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกา อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 24(2), 59–67.

เทศบาลตำบลโคกคราม. (2566). ข้อมูลและรายละเอียดชุมชน จำนวนประชากร ครัวเรือน. สืบค้นจาก https://kokkramcity.go.th

ธันยกานต์ ศรีชาลี. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเดช อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. การค้นคว้าอิสระสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงาน สาธารณสุข. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

พงษ์ระพี ดวงดี, มธุริน มาลีหวล, ปณิตา ครองยุทธ์, และ ถนอมศักดิ์ บุญสู่. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 3(1), 1–12.

พุทธิพงศ์ บุญชู. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ศึกษาเปรียบเทียบ หมู่บ้านปลอดโรค กับหมู่บ้านที่มีการระบาดของโรคในตำบลน้ำผุด อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 3(3), 79–94.

ไพรัตน์ ห้วยทราย, ธนูย์สิญจน์ สุขเสริม, และ กฤษณ์ ขุนลึก. (2559). การมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของ ประชาชน อำเภอห้วย ผึ้งจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 3(1), 64–81.

วิทยา ศรแก้ว. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในตำบลที่มีอัตราป่วยสูง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา, 2(1), 1–14.

สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค. (2561). แนวทางการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตเมือง. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. (2566). สถานการณ์โรคไข้เลือดออก. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2566, จาก https://spo.moph.go.th. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน พ.ศ.2566.

อลงกฎ ดอนละ. (2562). ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการปฏิบัติตนในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย. วารสารสำนักงานป้องกัน ควบคุมโรคที่ 10, 17(1), เดือนมกราคม - มิถุนายน 2562.

Bloom, A. (1979). The education of democratic man: Emile. Daedalus, 25(1), 135–153.

Chalardlon, P., Anansirikasem, P., Thuajop, S., Srisugsai, N., & Noochpun, D. (2020). the development model for prevention and control of dengue fever by community participation in suankuay subdistrict rathaburi province. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 5(12), 324–340.

Cobb, S. (1976). Social support as a moderator of life stress. Psychosomatic Medicine, 38(5), 300–314.

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1981).Participation’s place in rural development: Seeking clarity through specificity. World Development, 8(3), 213–235.

Daniel, D. (2010). Biostatistics: Basic concepts and methodology for the health sciences. New Delhi.

House, J.S. (1985).Thenatureof social support in M.A.Reading (Ed.), Work stressand social support. California: Addison–Wesley.