ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการตนเองในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

ศตพร ศิลปะการสกุล
วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์

บทคัดย่อ

การจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสุขภาพที่มีความสำคัญ และผู้ป่วยจำเป็นต้องมีการจัดการตนเองที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับสภาพร่างกายของตนเอง จึงจะสามารถลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นต่อร่างกายได้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการตนเองในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร  กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อายุ 35 ปี ขึ้นไป จำนวน 389 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า


  1. 1. การจัดการตนเองในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อยู่ในระดับ ปานกลาง (ร้อยละ 53.0)

  2. 2. การรับรู้ความสามารถตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และแรงสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการจัดการตนเองในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร (p-value < 0.05)  

  3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการตนเองในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ รายได้ครอบครัว แรงสนับสนุนทางสังคม เพศ  การรับรู้ความสามารถตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และอายุ (p-value < 0.01)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2566). โรคความดันโลหิตสูง (Hypertention). สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2566, จาก https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=52.

กรมควบคุมโรค. (2563). สถานการณ์โรคไม่ติดต่อระดับโลกและประเทศไทย. ใน อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า และสุธิดา แก้วหา (บ.ก.), รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2566). กรมควบคุมโรค แนะประชาชนใส่ใจสุขภาพวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอป้องกันโรคความดันโลหิตสูง. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2566, จาก https://dm sic.moph.go.th/index/detail/9218.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). ความหมายของความรอบรู้ด้าน สุขภาพ. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเด็กวัยเรียน, วัยทำงาน. (2). กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

จุฑาภรณ์ ทองญวน. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่มารับบริการโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. Region 11 Medical Journal, 29(2), 195-202.

ตวงพร พิกุลทอง. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของผู้ที่มีความ เสี่ยงในอำเภอคลองขลุงจังหวัดกำแพงเพชร. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธัญชนก ขุมทอง และคณะ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในจังหวัดอุทัยธานีและอ่างทอง. วารสารสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 3(6), (67-85).

ประทุม เมืองเป้ และวุฒิชัย จริยา. (2564). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคเกลือและโซเดียมของกลุ่ม เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์. (Doctoral dissertation, Naresuan University).

ปัฐยาวัชร ปรากฏผล และคณะ. (2558). การจัดการตนเองการรับรู้อาการเตือนโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน และการจัดการภาวะแทรกซ้อน ของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (เบาหวานและความดันโลหิตสูง). จังหวัดสระบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ภาสิต ศิริเทศ และณพวิทย์ ธรรมสีหา. (2562). ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(2), 58-65.

ยุทธนา ชนะพันธ์ และดาริวรรณ เศรษฐีธรรม. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 21(2), 109-119.

วริศรา ปั่นทองหลาง และคณะ. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 38(152-165).

วิราสิริร์ วสีวีรสิร์. (2564). ปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการจัดการตนเองในการป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานชนิด ที่ 2 เขตสุขภาพที่ 4 กระทรวงสาธารณสุข. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol, 6(8).

สายฝน โชคทรัพย์สุขกุล. (2565). ปัจจัยสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลหนองม่วงไข่จังหวัดแพร่. Journal of Phrae Public Health for Development. วารสารสาธารณสุขแพร่เพื่อการพัฒนา, 2(1), 1-15.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร. (2566). สถิติผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโปรแกรม Health Data Center: HDC จังหวัดกำแพงเพชร. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2566, จาก https://kpt.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

อาภรณ์ คำก้อน และคณะ. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุในชุมชนเมืองและกึ่งเมือง. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 28(2).

อนัญญา คูอาริยะกุล และคณะ. (2565). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในการป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรัง. Nursing Journal of The Ministry of Public Health, 32(3), 13-24.

Bandura, A. Social Learning Theory. New Jersy: Englewood Cliffs. 1997.

Bandura, A. (1997). Self-Efficacy: The Exercise of Control. New York: W.H. Freeman and Company. 8. Bandura. A. Social foundations of thought and action: A Social Cognitive Theory; New Jersey: Prentice-Hall Inc., Englewood Cliffs, 1986

Bandura, A. (1997). Self-efficacy : The exercise of control. New York : W.H. Freeman.

Nutbeam D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social science & medicine (1982), 67(12), 2072–2078. https://doi.org/10.1016/j.socscimed.2008.09.05

Schaefer, C., Coyne, J. C., & Lazarus, R. S. (1981). The health-related functions of social support. Journal of Behavioral Medicine, 4(4), 381–406.

Zhang, X. N., Qiu, C., Zheng, Y. Z., Zang, X. Y., & Zhao, Y. (2020). Self-management among elderly patients with hypertension and its association with individual and social environmental factors in China. Journal of Cardiovascular Nursing, 35(1), 45-53.