การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลบ้านใต้ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

นันท์ปภัทร์ ศรีทองทา
วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และควบคุม   โรคไข้เลือดออก 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลบ้านใต้ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เนื่องจากความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เสริมให้ประสบผลสำเร็จยิ่งขึ้น โดยประชาชนถือเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสังคมหรือชุมชนให้เป็นไปอย่างยั่งยืน (Sustainable Community Development) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านใต้ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 302 คน ซึ่งได้จาการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ไควสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า


                 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 79.8 รองลงมาคือระดับปานกลาง ร้อยละ 10.6 และระดับน้อย ร้อยละ 9.6


            2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และควบคุม โรคไข้เลือดออกในตำบลบ้านใต้ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-Value<0.05) ได้แก่ ระดับการศึกษา แรงจูงใจในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก การรับรู้โอกาสเสี่ยงความรุนแรง ของโรคไข้เลือดออก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มระบาดวิทยา สำนักงานป้องกันโรคที่ 5 จังหวัดราชบุรี. (2566). รายงานสถานการณ์โรค ไข้เลือดออก พ.ศ.2561- 2565.ราชบุรี : ประเทศไทย

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2566). รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก พ.ศ.2566 ประจำสัปดาห์การระบาดที 36.2566. แหล่งที่มาจาก : http://ddc. moph.go.th/dvb/pagecontent.php?page=1269&dept=dvb.

สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2566

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2566). สถานการณ์โรคติดต่อนำโดยแมลง ประเทศไทย พ.ศ.2566 (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 6 กันยายน 2566). แหล่งที่มาจาก : http://ddc.moph.go.th/dvb/pagecontent.php?page=1269&dept=dvb. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลายสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พ.ศ.2564. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

เกียรติศักดิ์ คำดีราช. (2566, 26 มิถุนายน). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ. เข้าถึงที่: https://bkpho. moph.go.th/ssjweb/bkresearch/index.php?fn=detail&sid=214. สืบค้นวันที่ 20 กันยายน 2566

เทศบาลเมืองกาญจนบุรี. (2566). ข้อมูลชุมชนในท้องที่เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. (ออนไลน์). แหล่งที่มาจาก : https://www.muangkancity.go.th.สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566.

โปรแกรม HOSxP PCU ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง เทศบาลเมืองกาญจนบุรี. (2566). ข้อมูลสถิติจำนวนประชากรในเขตท้องที่เทศบาลเมืองกาญจนบุรี ปี พ.ศ.2566. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2566.

โปรแกรมทันระบาด กรมควบคุมโรค. (2566). รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกระดับตำบลปีพ.ศ.2566.แหล่งที่มาจาก : https://www.tanrabad.org. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566.

พนม นพพันธ์, & ธรรม ศักดิ์ สาย แก้ว. (2559). การ ศึกษา ปัจจัย ที่ มี ผล ต่อ การ ปฏิบัติ งานป้องกัน และ ควบคุม โรค ไข้เลือดออก ของ อาสา สมัคร สาธารณสุข ประจำ หมู่บ้าน ใน เขต เทศบาล ตำบล บางปรอก อำเภอเมือง จังหวัด ปทุมธานี. Journal of Allied Health Sciences Suan Sunandha Rajabhat University, 1(1), 39-62.

พลเกต อินตา. (2547) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก : ศึกษากรณี อบต. ขนาดใหญ่ ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ไพศาล ขุนวิเศษ. (2019). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่จังหวัดชัยนาท. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 12(3), 343-352.

ไรน่าน แดงหนำ. (2562). การมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนเขตเทศบาลตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น)

วีรพงษ์ ชมภูมิ่ง. (2562). การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน ในอำเภอสอง จังหวัด แพร่ พ. ศ. 2561. Journal of Disease Prevention and Control: DPC. 2 Phitsanulok, 6(3), 47-60.

สุดใจ มอนไข่. (2013). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของชุมชน บ้านวังไทร ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม.

อภินันท์ ทองอินทร์. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Participation's place in rural development: Seeking clarity through specificity. World development, 8(3), 213-235.

Daniel WW. 2010B. iostatics : Basic Concepts and Methodology for the Health;

Duangdee, P., Maleehual, M., Krongyuth, P., & Boonsu, T. (2020). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์ สุขภาพ, 3(1), 1-12.

Herzberg, F. & Other. (2010). The motivation to work. New York: John Wiley & Sons

Kompichit, S. (2019). แรงจูงใจที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลเสือเฒ่า อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม Motivation Affecting Participation in Dengue Hemorrhagic Fever Prevention and Control of Village Health Volunteers of Seutao Sub-District, Chiangyuen District, Mahasarakham Province. Academic Journal of Mahasarakham Provincial Public Health Office, 180-193.

Rosenstock, I.M. (1974), Historical Origins of the Health Belief Model. Health Education Monographs, 2(4), 328-335.

Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 6(3), 461-477.