การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านคอโค ตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปเรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านคอโค ตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านคอโค ตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนสำเร็จรูป เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านคอโค ตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 28 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนสำเร็จรูปเรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ E1/E2 และทดสอบสมมติฐานของการวิจัยโดยใช้ค่า t-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปเรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านคอโค ตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ มีประสิทธิภาพ 84.01/87.38 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้คือ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปเรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านคอโค ตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนสำเร็จรูปเรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านคอโค ตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีระชัย ปูรณโชติ. การสร้างบทเรียนสำเร็จรูป. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์
พรรณมา ดวงบุตร. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาด้วยการใช้วิธีการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 6 (1): 51-61.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). ความสำคัญของพระพุทธศาสนา ในฐานะศาสนาประจำชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. (2542). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ศรีเรือน ใกล้ชิด. (2557). “การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี,
จักรพงศ์ วงษ์จันทร์แดง. (2558). “พัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปประกอบภาพการ์ตูน โดยการเรียนรู้แบบวมมือเทคนิค STAD เรื่องอาณาจักรสุโขทัย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม,
กมลณัฐ พิชัย และคณะ. (2564). “การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนอนุบาลวังม่วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2”. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์. 6 (1).(มกราคม – มีนาคม 114.
ฉัตรระวี มณีขัติย์. (2562). “การประยุกต์ใช้บทเรียนสำเร็จรูป Augmented Reality Book (AR) เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดสันป่าสัก”. รายงานการวิจัย. คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
พระสิทธิพงษ์ สุทสฺสโน และคณะ. (2564) “การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปเรื่องหน้าที่ชาวพุทธ โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning (MIAP) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนพระปริยัติธรรมปัจฉิมวันวิทยา จังหวัดอำนาจเจริญ”. วารสาร Journal of Buddhist Education and Research. 7 (2). (พฤษภาคม – สิงหาคม): 176.