การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้วิธีการสอนแบบอริยสัจ 4 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

พระเอกชัย มหาปุญฺโญ
พระครูวิริยปัญญาภิวัฒน์
พระครูสาธุกิจโกศล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้วิธีการสอนแบบหลักอริยสัจ 4 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้วิธีการสอนตามหลักอริยสัจ 4 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดบ้านสะแกซำ ตำบลสะแกซำ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 12 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ค่าเฉลี่ย 2) การหาความเที่ยงตรง 3) การหาความเชื่อมั่น 4) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า


  1. การจัดกระบวนการเรียนรู้ การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามแบบอริยสัจ 4 ทำให้ผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ดังนี้ 1) กระตุ้นจิตให้รับรู้ปัญหา (ทุกข์) นักเรียนส่วนใหญ่สามารถบอกถึงปัญหาที่แท้จริงจากโจทย์ และผลกระทบของปัญหา 2) ค้นหาสาเหตุ (สมุทัย) นักเรียนสามารถตามหาสาเหตุของปัญหา โดยการลงไปสำรวจข้อมูลจริง 3) กำหนดเป้าหมาย (นิโรธ) นักเรียนสามารถช่วยกันระดมการกำหนดเป้าหมายได้ตรงตามสาเหตุของปัญหา 4) สร้างสรรค์นวัตกรรม (มรรค) นักเรียนสามารถร่วมกันระดมความคิดออกแบบไอเดียอย่างหลากหลาย 5) ลงมือปฏิบัติ (มรรค) นักเรียนสามารถกันทำตามแผนตามวันเวลาที่กำหนดไว้ 6) สะท้อนผลการเรียนรู้ (มรรค) ผู้เรียนสามารถสะท้อนการเรียนรู้ตามโจทย์ที่กำหนดไว้ได้และบอกถึงปัญหาอุปสรรคที่พบ                                              2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบการพัฒนาทักษะ การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้วิธีการสอนแบบอริยสัจ 4 มีคะแนน ทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เฉลี่ยเท่ากับ 29.58 คิดเป็นร้อยละ 73.96 และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จํานวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 ของจํานวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พรสวรรค์ วงค์ตาธรรม. (2558). การคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(2), 111-121.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). ยุทธศาสตร์ที่ 3 แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

วนัสนันท์ ชูรัตน์. (2564). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับอินโฟกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง กรด-เบส. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศิริเดช สุชีวะ และคณะ. (2559). ทักษะทางปัญญาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา: การพัฒนาโมเดลและเครื่องมือวัดออนไลน์. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

Jeffrey Baumgartner. (2020). The Basics of Creative Problem Solving – CPS. Retrieved November 18, 2020, from https://shorturl.asia/ZGXlk.

Isaksen, S. G., & Treffinger, D. J. (2004). Celebrating 50 years of reflective practice: Versions of creative problem solving. Journal of Creative Behavior, 38(2), 75-101.

Osborn & Parn (1967) The Osborne Parnes Creative Problem Solving Process