การพัฒนาสมรรถนะนักกีฬาเปตองสมาคมเปตองแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

Main Article Content

อภิญญา นวลวิจิตร
อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ
ปกรณ์ ปรียากร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการพัฒนาสมรรถนะนักกีฬาเปตอง และศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาสมรรถนะของนักกีฬาเปตองสมาคมเปตองแห่งประเทศไทยฯ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ นักกีฬาเปตองสมาคมเปตองแห่งประเทศไทยฯ ประเภททั่วไปชาย และประเภททั่วไปหญิงจำนวน 263 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าt-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่าง เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD ผลการศึกษาพบว่า:


  1. ปัจจัยส่วนบุคคลของนักกีฬาเปตองสมาคมเปตองแห่งประเทศไทยฯ ประเภททั่วไปชาย และประเภททั่วไปหญิง ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 20-30 ปี การศึกษาปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,000-20,000 บาท และ มีระยะเวลาในเล่นกีฬามากกว่า 6 ปี

  2. การพัฒนาสมรรถนะนักกีฬาของนักกีฬาเปตองสมาคมเปตองแห่งประเทศไทยฯ โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านได้แก่ ด้านจิตวิทยาการกีฬา รองลงมาได้แก่ ด้านโภชนาการทางการกีฬา (ด้านสร้างสมรรถภาพทางกาย (ด้านเทคโนโลยีทางการกีฬา และ ด้านเวชศาสตร์การกีฬา

  3.   การวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน การพัฒนาสมรรถนะไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ส่วน .05 ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ ระยะเวลาในการเล่นกีฬาที่แตกต่างกันมีการพัฒนาสมรรถนะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          4. ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาสมรรถนะของนักกีฬาเปตองสมาคมเปตองแห่งประเทศไทยฯ พบว่า ห้องฟิตเนต ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การกีฬานักจิตวิทยาในการให้คำแนะนำยังไม่เพียงพอ ปัญหาเกี่ยวกับงบประมาณในการจัดการด้านโภชนาการที่เหมาะสม และอุปกรณ์ที่ทันสมัยเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักกีฬา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2560). แผนยุทธศาสตร์สร้างกีฬาไทยสู่ความเป็นเลิศ. (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

(2566). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2566 - 2570). กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กิจวดล แก้วประสิทธ์. (2564). ปัจจัยด้านการพัฒนากีฬาแบตมินตันที่ส่งผลต่อศักยภาพของนักกีฬา แบตมินตันของประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร จัดการองค์การ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.

ธนวรรณพร ศรีเมือง จักรดาว โพธิแสน ไตรมิตร โพธิแสน. (2563). สมรรถนะด้านการเป็นผู้นำการออก กำลังกายในนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ การกีฬา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พัชรินทร์ ปาวะลี. (2564). สภาพและแนวทางการพัฒนานักกีฬาตามหลักวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อความเป็นเลิศของสำนักงานกีฬาในมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการกีฬา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ประสบชัย แก้วรุ่งเรือง และคณะ. (2564). “การพัฒนานักกีฬาว่ายน้ำให้มีสมรรถนะเป็นเลิศในการ แข่งขันของสมาคมกีฬาว่ายน้ำแห่งประเทศไทย”. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรม ท้องถิ่น, 5 (1): 79-90.

สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา. (2560). [ออนไลน์]. ปัจจัยสู่ความสำเร็จของนักกีฬา. แหล่งที่มา http://sportscience.dpe.go.th/. สืบค้นเมือวันที่ 5 ตุลาคม 2566.

อนันต์ อัตชู. (2556). หลักการฝึกกีฬา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

Casals, M. and Finch, C. F. (2017). “Sports Biostatistician: A Critical Member of all Sports Science and Medicine Teams for Injury Prevention”. Injury Prevention, 23(6): 423-427.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper & Row.