การยอมรับเทคโนโลยีเพื่อการปรับตัวเข้าสู่องค์กรดิจิทัลของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

เมธาสิทธิ์ จันทรเสวต
รังสรรค์ ประเสริฐศรี
อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการปรับตัว และการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการปรับตัวสู่องค์กรดิจิทัล รวมไปถึการงศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวเข้าสู่องค์กรดิจิทัลขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ จำนวน 174 คน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ สถิติ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05


ผลการวิจัยพบว่า


1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31 - 40 ปี สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาปริญญาตรี และตำแหน่งพนักงานจ้าง


2) การยอมรับเทคโนโลยีเพื่อการปรับตัวเข้าสู่องค์กรดิจิทัลของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับรายด้านจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยี ด้านการยอมรับการใช้ระบบเทคโนโลยี ด้านพฤติกรรมการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการรับรู้ความยากง่ายในการใช้ และด้านทัศนคติต่อการใช้งาน ตามลำดับ


          3) การปรับตัวสู่องค์กรดิจิทัลของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด


          4) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการปรับตัวเข้าสู่องค์กรดิจิทัลของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาและตำแหน่งที่แตกต่างมีการปรับตัวสู่องค์กรดิจิทัลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


5) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวเข้าสู่องค์กรดิจิทัลขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า เป็นไปในทิศทางเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ปัจจัยด้านทัศนคติของผู้ใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล รองลงมา คือ ด้านการยอมรับการใช้ระบบเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการรับรู้ในด้านความง่ายของการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านรับรู้ถึงประโยชน์การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และด้านพฤติกรรมการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยวัฒน์ สุภัควรกุล. (2560). การศึกษาการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. รายงานการวิจัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ทรงพจน์ พูลสิน. (2563). ความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งเสริมการยอมรับเทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

เพียรพีรดา แก้วใส. (2563). ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการธุรกรรม ทางการเงินบนโทรศัพท์มือถือ (Mobile Banking) ในอำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วสุธิดา นุริตมนต์. (2562). “อิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยีที่มีต่อพฤติกรรมการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์เคลื่อนที่”. สหวิทยาการวิจัย. 8(1), 189-199

อริสรา โหงวบุญล้อม. (2566). รูปแบบปัจจัยที่เอื้อต่อการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ดิจิทัล. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

อัญชลี เหลืองศรีชัย และลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์. (2564). “การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลตามความคิดเห็นของบุคลากรในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานี”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(2) : 170 – 186.

Dandan Lin. (2560). พฤติกรรมการใช้ ปัจจัยด้านเทคโนโลยีและการยอมรับ แอปพลิเคชันวีแชทในประเทศไทย กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

วสุธิดา บุริตมนต์. (2562).“อิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยีที่มีต่อพฤติกรรมการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านแอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์เคลื่อนที่”. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา 8 (1): 189-199.

อริสรา โหงวบุญล้อม. (2566). รูปแบบปัจจัยที่เอื้อต่อการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ดิจิทัล. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

อัญชลี เหลืองศรีชัย และลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ (2564) “การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลตามความคิดเห็นของบุคลากรในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานี”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, (2), 170-186.

Dandan Lin. (2560).“พฤติกรรมการใช้ปัจจัยด้านเทคโนโลยีและการยอมรับแอปพลิเคชันวีแชทในประเทศไทย กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร.