การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนเขตพื้นที่องค์การบริหาร ส่วนตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ 2) การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ และ 3) แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีประชากรจำนวน 7,555 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 380 คน จากการคำนวณตามสูตรของทาโร่ยามาเน่ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และค่า One - Way ANOVA และ LSD โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 12 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1) ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅=2.86, S.D.=0.07) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองระดับท้องถิ่น (𝑥̅=3.15, S.D.=0.21) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ การมีส่วนร่วมในการต่อสู้ทางการเมือง (𝑥̅=2.94, S.D.=0.37) การมีส่วนร่วมตรวจสอบติดตามการทำงาน (𝑥̅ =2.87, S.D.=0.36) และการมีส่วนร่วมสนใจทางการเมือง (𝑥̅=2.56, S.D.=0.23) ตามลำดับ
2) การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกันทรารมย์ จำแนกตามปัจจัยข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ ที่แตกต่างกันมีส่วนร่วมทางการเมืองไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และจำแนกตามปัจจัยแวดล้อม พบว่า บทบาทผู้นำทางการเมือง และบทบาทกลุ่มผลประโยชน์และพรรคการเมือง ที่แตกต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
3) แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ควรส่งเสริมการศึกษาและความรู้ทางการเมืองในสังคมจัดกิจกรรมและโครงการที่กระตุ้นความสนใจทางการเมือง ใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นกลาง สนับสนุนการเข้าร่วมเลือกตั้งและการลงคะแนนเสียง จัดตั้งองค์กรหรือกลุ่มที่ทำงานด้านการตรวจสอบและความโปร่งใส ให้การอบรมและการศึกษาเกี่ยวกับการตรวจสอบและการรายงานการทุจริต ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลและหน่วยงานรัฐ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ณัฐสุวัชร์ เส็งกิ่ง. (2560). การมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่นของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลหนองไม้แดง อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
พงษ์พัต วัฒนพงศ์ศิริ, สุรีย์พร สลับสี. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนต่อการปกครองท้องถิ่นในเทศบาลบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 1(2), 204-209.
วัชรมน จันรอง. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่นของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเล่า อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ธิดาพร ลครพล และปานปั้น รองหานาม. (2565). ความร่วมมือของอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่นร่วมกับหน่วยงานภาคีในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(9), 141-155.
โอภาส จิตระยนต์. (2565). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหน้าพระธาตุ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
อุไรวรรณ เพชรแอน. (2567). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัด พิษณุโลก. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม – กุมภาพันธ์2567)