ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับ เทคนิคการอ่านแบบ SQ4R เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการอ่านวิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

หัทยา หนูดาษt
เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์
สมศิริ สิงห์ลพ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาและความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ระบบนิเวศและประชากร ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ4R ก่อนเรียนและหลังเรียน และหลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ โรงเรียนศรีราชา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 1 ห้องเรียน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม รวมทั้งสิ้น 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ4R แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา และแบบทดสอบความสามารถในการอ่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน และการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว       
          ผลการวิจัยพบว่า


          1) คะแนนวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ระบบนิเวศและประชากร ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ4R หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


          2) ความสามารถในการอ่านวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ4R หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
หนูดาษt ห. ., ศิริสวัสดิ์ เ. ., & สิงห์ลพ ส. . (2025). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับ เทคนิคการอ่านแบบ SQ4R เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการอ่านวิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 16(1), 85–98. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/275585
บท
บทความวิจัย

References

จารุ บริบูรณ์. (2564). ครูในโรงเรียน. สัมภาษณ์, 15 มีนาคม.

ธัญญรีย์ สมองดี. (2556). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา เรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการวิเคราะห์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2550). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะ 7 ขั้น วารสารวิชาการ, 10(4), 25-30.

ผุสดี พรศิริกาญจน์. (2565). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับการใช้เทคนิคช่วยจำวิชาชีววิทยา เรื่อง การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 34(121), 63-74

เยาวลักษณ์ ชื่นอารมณ์. (2549). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). สอบถามค่าสถิติพื้นฐานทั่วประเทศ(ทุกระดับ). สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2567, จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Notice/FrBasicStat.aspx

สนธยา พลีดี. (2548). ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนวิทยาศาสตร์ด้วยวิธี เอส คิว โฟร์ อาร์. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แนวปฏิบัติการวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ครูยุคใหม่เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

Eanes, R. (1997). Content Area Literacy for Today and Tomorrow. N.Y. : Delmar Publisher.

Eisenkraft, A. (2003). Expanding the 5E Model. Science Teacher. 70(6), 56-59.

Kanli, U. (2007). The effects of a laboratory based on the 7E model with verification laboratory approach on students’ develop-ment of science process skills and conceptual achievement. Turkey: Gazi University.

Pauk, W. (1984). The New SQ4R. Journal Reading World, 23(3).274-275

Renner, J. W., &Don G. Stafford. (1972). Teaching science in the secondary school New York: 1974 Wiley Periodicals.

Yutthichai, U. (2022). Developing reading comprehension skill in 8th grade students, using an SQ4R teaching method, and 5W1H teaching method management, by using reading chapters from local literature. The Liberal Arts Journal, 5(1), 1-26. Retrieved from https://so02.tcithaijo.org/index.php/lajournal/article/view/254118/172250