ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ธนิฏฐา ลอยประโคน
นพมณี เชื้อวัชรินทร์
สมศิริ สิงห์ลพ

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการเปรียบเทียบคะแนนหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70       3) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการเปรียบเทียบคะแนนหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 5) เพื่อศึกษาเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Expermental research design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอ่างศิลาพิทยาคม จำนวน 1 ห้องเรียน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) แบบทดสอบวัทผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ 4) แบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบสองกลุ่มไม่เป็นอิสระจากกัน และการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว


          ผลการวิจัยพบว่า


             1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ หลังได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


              2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ หลังได้รับการสอนโดยใช้ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


              3) ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


              4) ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน หลังได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


              5) เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง หลังได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในเกณฑ์ระดับดี

Article Details

How to Cite
ลอยประโคน ธ. ., เชื้อวัชรินทร์ น. ., & สิงห์ลพ ส. . (2025). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 16(1), 54–70. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/275640
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2567. จาก https://www.moe.go.th/360policy-and-focus-moe-fiscal-year-2024/

จรรยารักษ์ กุลพ่วง. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาและเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 18(3), 265-275.

ชุลีพร จันทร์ไตรรัตน์. (2557). การศึกษาการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์, 8(4), ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 8(4), หน้า46-54.

ดุษฎี เจริญสุข. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7ขั้น (7) ที่มีต่อการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่องระบบนิเวศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐). (2565). สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2567. จาก https://www.bic.moe.go.th/images/stories/pdf.

ไพศาล วรคำ. (2552 ). วิจัยทางการศึกษา. กาฬสินธิ์: ประสานการพิมพ์. หน้า136.

วิทวัส ดวงภุมเมศ. (2560). การจัดการเรียนรู้ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), หน้า1-14.

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2567). การเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย เป็น ACTIVE LEARNING มากแค่ไหน?. สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2567. จาก https://lsed.tu.ac.th/published-message-content-50

สาริญา และสุม. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา ทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2562 ). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2567. จาก http://newonetresult.or.th/Announcementweb/PDF/SummaryONET6_2561.pdf

สุดารัตน์ เกียรติจรุงพันธ์. (2560 ). การศึกษามโนทัศน์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิชาชีววิทยาเพิ่มเติม เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น,

(2), 224-234.

อรมนัส วงศ์ไทย. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมี

วิจารณญาณ และการแก้ปัญหา เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Anderson, L. W., & Krathwohl, D. R., . (2001). A Taxonomy for Learning, Teaching and Assessing: A Revision of Bloom’s Taxonomy of Educational Objectives: Complete Edition. New York: Longman.

Edgar Dale. (1969 ). Audiovisual methods in teaching (3rd). New york: Dryden Press.

John Dewey. (1969). Philosophy, Education, and Reflective Thinking. In Thomas O. Buford Toward a Philosophy of Education. , pp. 180-183.

Hazzan, O., Lapidot., and ragonis, N., .(2004). Guide to teaching computer science:

an Activity-Based Approach. New York Springer.