มนุษย์ล่องหนในระบาดวิทยา “ความเปลือยเปล่า” ของคนชายขอบในเมืองเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และมาตรการของรัฐในประเทศต่างๆ รวมทั้งไทย ในการปิดเมืองทางคนชายขอบและแรงงานข้ามชาติเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นพลังสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย แต่ดูเหมือนว่าพวกเขายังต้องดำรงชีวิตอยู่อย่างไร้ตัวตน และไร้สถานะของพลเมืองไทย แม้จะทำงานอยู่ในประเทศไทยมาอย่างยาวนานแล้วก็ตาม พร้อม ๆ กันนั้นในชีวิตประจำวันพวกเขาเหล่านี้ก็พยายามดิ้นรนต่อสู้อยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อการเข้าไปมีส่วนร่วมอยู่ในสังคมไทยในฐานะพลเมืองไทยอย่างสมบูรณ์ และพัฒนาตนเองให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพในสังคมไทยต่อไปในอนาคต เขาเหล่านี้จึงไต่อยู่กับเส้นความไม่มั่นคงในชีวิต แม้จะเป็น "พลเมืองทางเศรษฐกิจ" ที่ทำให้ภาคส่วนต่าง ๆ เติบโต แต่ไม่เคยถูกนับว่าเป็น "พลเมืองของรัฐ" เป็นเสมือนหนึ่งมนุษย์ล่องหนที่ไร้ตัวตน ในสถานการณ์ที่ไวรัสโควิดระบาด คนกลุ่มนี้กลับไม่ถูกนับว่าเป็นพลเมือง เข้าไม่ถึงการเยียวยาและสวัสดิการของรัฐ โครงการวิจัยนี้จึงต้องการสะท้อนชีวิตของเขาภาพเรื่องเล่าการต่อสู้ ท่ามกลางวิกฤติคนเหล่านี้ใช้ชีวิตแบบใด เพื่อให้เราเข้าใจ “ชีวิตของมนุษย์” คนหนึ่ง และภายใต้การระบาดของไวรัสโควิด 19 ได้เปิดเผยให้เห็นถึงปัญหาที่ที่คนชายขอบจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการและการช่วยเหลือของรัฐ ซึ่งรัฐจะเข้าใจประเด็นปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้อย่างไร เพื่อที่จะช่วยให้สามารถพัฒนานโยบายเกี่ยวกับคนชายขอบและแรงงานข้ามชาติแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสม ซึ่งคงต้องเริ่มต้นจากการตั้งคำถามในการวิจัยหลาย ๆ ประเด็นดังต่อไปนี้ เพื่อมองเห็นแนวทางในการศึกษาประเด็นปัญหาต่าง ๆ ข้างต้นเพิ่มมากขึ้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์@ของวารสารมานุษยวิทยา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), กรุงเทพฯ, ประเทศไทย
ข้อมูลเพิ่มเติม:
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/
References
ขวัญชีวัน บัวแดง. 2554. การปรับตัวทางสังคมและวัฒนธรรมของทายาทรุ่นที่ 2 ของผู้ย้ายถิ่นจากประเทศพม่า (รายงานฉบับสมบูรณ์). เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคริส เบเคอร์. 2546. เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ (พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่: สุริวงค์บุ๊ค.
พิสิษฏ์ นาสี และชัยพงษ์ สำเนียง. 2557. ประเทศไทย จากยุคแรงงานล้นเหลือถึงการเข้ามาของแรงงานข้ามชาติ: ความเปลี่ยนแปลงของแรงงานในประเทศไทยสู่การแสวงหาแรงงานทดแทน. วารสารมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา, 2(2), 104-134.
วิจิตร ประพงษ์. 2563. ตลาดนี่นี้ใครครอง: การต่อรองพื้นที่สิทธิในตลาดของผู้ค่าเร่ไทใหญ่. ใน อานันท์ กาญจนพันธุ์ (บ.ก.), จุดตัดของเรื่อง ‘ต้องห้าม’ ในพื้นที่ความรู้ (น. 41 - 99). เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิจิตร ประพงษ์. 2564. แรงงานอารมณ์หนุ่มข้ามชาติ: การต่อรองความเป็นชายและการสั่นคลอนความหมายอาชีพขายบริการทางเพศ. ใน อานันท์ กาญจนพันธุ์ (บ.ก.), เสียงที่ไม่ได้ยิน อารมณ์และความหวังในพื้นที่ความรู้ (น. 37 - 104). เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อัมพร จิรัฐติกร. 2558. พื้นที่สาธารณะข้ามชาติ การเมืองเรื่องพื้นที่ของแรงงานอพยพไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: ศูนย์วิจัยและบริการวิชากร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อานันท์ กาญจนพันธุ์ และชัยพงษ์ สำเนียง. 2557. แรงงานข้ามชาติ: อัตลักษณ์และสิทธิความเป็นพลเมือง. เชียงใหม่: สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
WorkpointTODAY. 2563. ครม. ผ่าน ‘คนละครึ่ง’ เฟส 2 อีก 5 ล้านสิทธิ์ ลงทะเบียน 16 ธ.ค.นี้ เฟสแรกได้เพิ่ม 500 บาท. [ออนไลน์] จาก https://workpointtoday.com/halfhalf-ph2-02/ [เข้าถึง 11 มีนาคม 2565]
WorkpointTODAY. 2564. ‘หมอแก้ว’ เปิดไทม์ไลน์ครบ 500 วัน โควิด-19 ในไทย กับการวิ่งมาราธอนที่คนไทยทุกคนต้องไปด้วยกัน. [ออนไลน์] จาก https://workpointtoday.com/covid19-150521-2/ [เข้าถึง 11 มีนาคม 2565]
Agamben, G. 1998. Homo Sacer: Sovereign Power and Bare Life. Stanford: Stanford University Press.
Amporn Jirattikorn. 2007. Living on both sides of the borders: Transnational migrants, pop music and nation of the Shan in Thailand. Working paper series No. 7, Regional Center for Social Science and Sustainable Development, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University
Appadurai, A. 2000. Modernity at Large: Cultural Dimensions of Globalization. Minnesota: Minnesota University Press.
Harvey, D. 2005. A Brief History of Neoliberalism. Oxford: Oxford University Press.
Kusol Soonthondhada. 2001. Changes in the labor market and international migration since the economic crisis in Thailand. Asian and Pacific Migration Journal, 10(3-4), 401 - 428.
Pattana Kittiarsa. 2014. The “Bare Life” of Thai Migrant Workmen in Singapore. Chiang Mai: Silkworm.