ความมั่นคงตามแนวชายแดนขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาความมั่นคงของประชาชนตามแนวชายแดนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย 2) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างความมั่นคงสำหรับประชาชนตามแนวชายแดนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย และ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาความมั่นคงสำหรับประชาชนตามแนวชายแดนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย ผู้วิจัยนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 คน และประชุมกลุ่มย่อยจำนวน 5 คน โดยได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าปัญหาความมั่นคงของประชาชนตามแนวชายแดนของจังหวัดเลย พบว่า จากปัญหาความมั่นคงของประชาชน ด้านการเมือง ทางด้านเศรษฐกิจ ทางด้านสังคม ทางด้านการทหาร และการแพร่ระบาดของยาเสพติด มีการแพร่ระบาด ซึ่งประเทศเพื่อนบ้านมีแหล่งผลิตยาเสพติด ทำให้ยังคงเสี่ยงต่อการลักลอบการค้ายาเสพติด อีกทั้งคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ประกอบอาชีพหรือรับจ้างทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้
กระบวนการสร้างความมั่นคงสำหรับประชาชนตามแนวชายแดนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย พบว่า การเติบโตอย่างรวดเร็วของเมืองชายแดนไทยที่เห็นได้ชัดคือเกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่หลากหลาย มูลค่าการค้าชายแดนเพิ่มขึ้นในอัตราสูงแต่ผลจากการเติบโตอย่างรวดเร็ว การพัฒนาเมืองชายแดนอย่างมีประสิทธิภาพต้องดำเนินการด้วยความร่วมมือจากหลายฝ่ายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพพื้นที่ชายแดนของไทยและเพื่อนบ้าน พร้อมมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ติดตาม ความก้าวหน้าการดำเนินการประชาสัมพันธ์ประเด็นสถานการณ์ยาเสพติด การแพร่ระบาด การตลาดยาเสพติด นโยบายการลดอันตรายจากยาเสพติด ติดตามสถานการณ์ยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง
ผลการวิเคราะห์ปัญหาความมั่นคงสำหรับประชาชนตามแนวชายแดนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย พบว่า ปัญหาความมั่นคงสำหรับประชาชนตามแนวชายแดนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัญหายาเสพติด แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย การค้าของหนีภาษี โดยมีแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหืองเป็นเส้นกั้นเขตแดน การเดินทางไปมาหาสู่กันโดยผ่านจุดผ่านแดนถาวร จุดผ่อนปรน ด่านประเพณีและช่องทางธรรมชาติ ทำให้มีปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ส่งผลต่อความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งสองฝ่ายจึงได้ตกลงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดน
Article Details
References
ดุสิต น้อยชื่น และคณะ. (2557). ยุทธศาสตร์การพัฒนาตำรวจตระเวนชายแดนเพื่อความมั่นคงตามแนวชายแดนไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 8 (1), 51-70.
สมหมาย ปะติตังโข และคณะ. (2558). การศึกษาแบบบูรณาการเพื่อการแก้ปัญหาความยากจนในชุมชน โดยใช้ทฤษฏีเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาบ้านตราดตวน ตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 10 (1), 68-77.
สุรชาติ บำรุงสุข. (2552). นโยบายภาษาและความมั่นคงแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร : โครงการความมั่นคงศึกษา.
สุรินทร์ พิศสุวรรณ. (2555). อาเซียน รู้ ไว้ ได้เปรียบแน่. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์.
อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์ และคณะ. (2557). รูปแบบการบูรณาการทางสังคมของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
เอมอร แสนภูวา. (2560). บทบาทของผู้นำชุมชนในการมีส่วนร่วมสร้างความมั่นคงตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา กรณีศึกษา อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. Journal of Social Development, 19 (2), 37-52.
Kanti Bajpai. (2000). Human Security : Concept and Measurement. Kroc Institute Occasional Paper 19 : OP1.