แนวทางการบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น

Main Article Content

สุภัทรศักดิ์ คำสามารถ
ศิรินทิพย์ กุลจิตรตรี
โกวิท จันทะปาละ

บทคัดย่อ

        เทคโนโลยีการศึกษามีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปและพัฒนาการปรับโครงสร้างของประเทศไทยให้ก้าวเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา การปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษา สิ่งสำคัญคือต้องเร่งการพัฒนาและเตรียมความพร้อมให้กับคนรุ่นใหม่ มีการเชื่อมโยงการขยายแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เนื่องจากการศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง อุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก การใช้เทคโนโลยีเข้ากับการบริหารจัดการด้านการศึกษาที่มีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี การศึกษาในการปฏิรูปการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอน การพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา เป็นการศึกษาที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนไปการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นเครื่องกระตุ้นการเรียนรู้ มุ่งเน้นผู้เรียนให้มีความสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อให้ประเทศมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีทักษะ พัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการรองรับการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นต่อไป ทฤษฎีดิสรัปชั่นมาจากกระบวนการแห่งเหตุผลสามขั้นตอนด้วยกัน กล่าวคือ การแสวงหาความคิดเชิงกลยุทธ์ที่แปลกใหม่ซึ่งถือเป็นการยุติและล้มล้างแนวทางปฏิบัติเก่า ๆ ทั่วไป แล้วจึงเริ่มเปรียบเทียบหักล้างด้วยความคิดใหม่ให้แตกต่างโดยสิ้นเชิงที่เรียกกันว่า ดิสรัปชั่น (Disruption) การปฏิรูปหรือเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยี ฉะนั้นเด็กไทยควรได้รับการพัฒนาในด้านต่างๆ เพื่อดึงศักยภาพ และสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันระดับนานาประเทศต่อไป

Article Details

How to Cite
คำสามารถ ส. ., กุลจิตรตรี ศ. ., & จันทะปาละ โ. . (2020). แนวทางการบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น. Journal of Modern Learning Development, 5(3), 245–259. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/242194
บท
บทความวิชาการ

References

รัชยา เรืองศรี. (2562). ปรับธุรกิจให้รอดในยุคดิจิทัล = Digital darwinism.กรุงเทพมหานคร : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล (SCHOOL MANAGEMENT IN DIGITAL ERA. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อริญญา เถลิงศรี. (2562). Disruption: ทำลายล้างหรือสร้างโอกาส. ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2562. แหล่งที่มา: https://thaipublica.org/2018/06/seac-disruption/.

อริญญา เถลิงศรี. (2563). 5 ความท้าทาย 5 วิธีรับมือ “เอสเอ็มอี” ต้องรู้ในยุคธุรกิจทำลายล้าง!!. ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2563. แห่งที่มา : http://www.bizpromptinfo.com/

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2561). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล.(School Management in Digital Era) โครงการสานพลังประชารัฐ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2561.แหล่งที่มา: http://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/52232.

Rothidsathan. (2016). Policy of Higher Education. Online. Retrieved July 20, 2018, from http://www.moe. go.th/websm/2016/sep/385.ht2.jpg [in Thai]