แนวคิดเรื่องจักรวาลวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท

Main Article Content

วิเชียร แสนมี
ประภาส แก้วเกตุพงษ์

บทคัดย่อ

        บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องจักรวาลวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท ซึ่งได้ศึกษาจากคัมภีร์พระสุตตันตปิฎกเป็นหลัก จากการศึกษาพบว่า ความรู้ทางจักรวาลวิทยามี 2 อย่าง คือ
        1) ความรู้เรื่องจักรวาลวิทยาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้เห็นเกี่ยวกับความรู้ทางประสบการณ์ตรง คือ ความรู้ที่กล่าวถึงกำเนิดของสิ่งมีชีวิตและลักษณะตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ เช่น มนุษย์ สัตว์ และความรู้บางส่วนซึ่งเป็นความรู้ที่เกี่ยวกับกำเนิดของโลก
        2) ความรู้เรื่องจักรวาลวิทยาที่พระพุทธเจ้าทรงหยั่งรู้ได้ด้วยทิพยจักษุญาณ คือ เรื่องภูมิต่าง ๆ มีการพรรณนาสภาพอันน่าสะพรึงกลัวในทุคติภูมิหรืออบายภูมิ และมีการพรรณนาสภาพอันน่ารื่นรมย์ในสุคติภูมิ แต่ในทัศนะของพุทธปรัชญาเถรวาทมองว่าสรรพสิ่งในจักรวาลก็ตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์เสมอเหมือนกันทั้งสิ้นไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน

Article Details

How to Cite
แสนมี ว. ., & แก้วเกตุพงษ์ ป. . (2020). แนวคิดเรื่องจักรวาลวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท. Journal of Modern Learning Development, 5(3), 288–300. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/242477
บท
บทความวิชาการ

References

บุญมี เมธางกูร และวรรณสิทธิ์ ไวทยะเสวี. (2524). คู่มือการศึกษาพระอภิธรรมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 5 ตอนที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สุทธิสารการพิมพ์

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2558). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 43). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์ ในเครือ บริษัท สำนักพิมพ์เพ็ทแอนด์โฮม จำกัด

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน)

สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2522). ธรรมวิภาคปริจเฉทที่ 2. (พิมพ์ครั้งที่ 32). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย

William Montgomery Mc. Govern. (1976). A Manual of Buddhist Philosophy. Lucknow: Oriental Reprinters.