ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

Main Article Content

อ๊อต โนนกระยอม

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ และ 3) ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยทั้งการศึกษาเชิงปริมาณและการศึกษาเชิงคุณภาพ) (1) เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จำนวน 155 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (2) เชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ อาจารย์และนักศึกษาแต่ละสาขา 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา    
        ผลการวิจัย พบว่า
        1.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ สาขาวิชา คุณลักษณะคณะ หลักสูตร อาจารย์ การจัดการเรียนการสอน ค่าธรรมเนียม สถานที่ตั้ง
        2.ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ได้แก่ สาขาวิชา การจัดการเรียนการสอน สถานที่ตั้ง การบอกต่อของศิษย์เก่า ค่าธรรมเนียมในการศึกษาเล่าเรียน
        3.ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 1) ด้านเป้าหมาย คือ คณาจารย์ที่มีความรู้ ประสบการณ์ในศาสตร์สาขาวิชานั้นๆ สามารถให้โอกาสแนวทางแก่นักศึกษาได้ มุ่งพัฒนาให้นักศึกษามีอาชีพการงานที่มั่นคง โดยให้ความสำคัญกับครอบครัวของนักศึกษาเป็นสำคัญ ตลอดจนสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง มองหาโอกาสในการทำงาน 2) ด้านความเชื่อและค่านิยม คือ ผลงานหรือการนำเสนอความเคลื่อนไหวของการเรียนการสอนให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในสังคม อาจารย์ควรลงไปแนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาต่อ 3) ด้านความคาดหวัง คือ ควรสร้างประสบการณ์ ความรู้และโอกาสใหม่ในการเรียนรู้ ร่วมลงมือปฏิบัติจากในชั้นเรียนและนอกสถานที่ 4) ด้านความรู้ความสามารถ คือ ควรสร้างเสริมประสบการณ์ตรงและการฝึกปฏิบัติจนชำนาญ เกิดทักษะที่มาจากองค์ความรู้ทางวิชาชีพที่ถูกต้อง สามารถคิดวิเคราะห์เองได้ และ  5) ด้านอิทธิพลจากสังคม คือ ควรมองประโยชน์ทั้งที่มีต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม สร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นแก่คนรอบข้างให้ได้ โดยคิดเป็น ทำเป็น พัฒนาเป็น สร้างงานสร้างอาชีพได้

Article Details

How to Cite
โนนกระยอม อ. . (2020). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. Journal of Modern Learning Development, 5(3), 137–153. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/242578
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2553. ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ17มีนาคม 2563.แหล่งที่มา: https://www.mwit.ac.th/~person/01-Statutes/NationalEducation.pdf

กัญนิกา พราหมณ์พิทักษ์. (2542). การบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: กรุงสยามการพิมพ์.

ใจชนก ภาคอัต. (2556). ปัจจัยด้านการพัฒนาคุณภาพของสถาบันที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาระดับปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. งานวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.

อุทุมพร ไวฉลาด และจงดี โตอืม. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระราชูปถัมภ์,10 (2),165-177.

Krejcie, R.V., & Morgan D.W. 1970. Determining sample size for research activities. Education and Psychology Measurement,30(3), 607-608.