การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่องการเปลี่ยนแปลงและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายในจังหวัดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยเทคนิคหมวก 6 ใบ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่องการเปลี่ยนแปลงและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายในจังหวัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยเทคนิคหมวก 6 ใบ ให้นักเรียนมีคะแนนผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ80 ขึ้นไปและมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ80ขึ้นไปจากจำนวนนักเรียนทั้งหมดและ 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการเปลี่ยนแปลงและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายในจังหวัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยเทคนิคหมวก 6 ใบ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไปจากจำนวนนักเรียนทั้งหมด กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านไทรงามโนนภูดิน ตำบลโซ่ อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาบึงกาฬ จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 3 ประเภท ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา เรื่อง การเปลี่ยนแปลงและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายในจังหวัด 2) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์เรื่องการเปลี่ยนแปลงและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายในจังหวัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยเทคนิคหมวก 6 ใบ หลังเรียนพบว่า คะแนนทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์เรื่องการเปลี่ยนแปลงและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายในจังหวัด จำนวนคะแนน 20 คะแนน มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 16.90 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 84.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.25 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 96.67 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด และมีจำนวนนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 3.33 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ที่ตั้งไว้และ
2) คะแนนทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การเปลี่ยนแปลงและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายในจังหวัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยเทคนิคหมวก 6 ใบ หลังเรียนจากคะแนนเต็ม 30 คะแนนได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 26.60 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 88.67 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.99 และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ 29 คน คิดเป็นร้อยละ 96.67 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดและมีจำนวนนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 1 คน เท่ากับร้อยละ 3.33 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ที่ตั้งไว้
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). การคิดเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: ซักเซส มีเดีย.
นฤมล มีโสภา. (2550). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาเรื่อง สรรพสิ่งในธรรมชาติ ด้วยเทคนิคหมวก 6 ใบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 . กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นารี เจนสาริกร. (2548). ผลการสอนโดยใช้กิจกรรมหมวกคิดหกใบ ของ เดอ โบโน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.
ปริศนา ทะวันเวทย์. (2561). ผลการใช้ชุดกิจกรรมภาพการ์ตูนประกอบคำถามตามแนวคิดหมวก 6 ใบเพื่อพัฒนาการเขียนเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ปิยมาศ เตงชู. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรูโดยใชแนวคิดหมวกคิดหกใบ เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 2. วิทยานิพนธการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและประเมิน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
วิไลลักษณ์ สายเสน่ห์. (2556). ผลการสอนโดยใช้เทคนิควิธีการสอบแบบหมวกความคิดหกใบในวิชาการคิดเชิงวิจารณญาณและสร้างสรรค์ที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนปริญญาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: ทุนวิจัยอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
วีระ สุดสังข์. (2550). การคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร :ชมรมเด็ก.
ศิรินทิพย์ ดาทอง (2559). การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการปฏิบัติร่วมกับเทคนิคหมวก 6 ใบ สาระทัศนศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 14 (1), 129 -139.
Bloom, Benjamin S. and others. (1956) Taxonomy of Educational Objective The Classification of Educational Goals Hand Book I: Cognitive Domain. New York: David Mackay.
Edward.De Bono, (1992). Six Thinking Hats for Schools. London: Haeker Brown low Education.
Saroja,D & Khoo Tabitha,W.L. (2013). A Study to Investigate How Six Thinking Hats Enhance the Learning of Environmental Studies. IOSR Journal of Research & Method in Education (IOSR-JRME), 1 (6), 20 - 29.