ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหารต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร สังกัดมณฑลทหารบกที่ 39 จังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษา 1) ระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหารต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร และ 2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการทหารต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร สังกัดมณฑลทหารบกที่ 39 จังหวัดพิษณุโลกตาม ปัจจัยส่วนบุคคล ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ จากการแจกแบบสอบถามกับข้าราชการทหารต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร จำนวน 346 นาย โดยใช้ประชากรทั้งหมดเป็นลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test การทดสอบค่า F-test (One Way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ (LSD) ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการทหารต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร สังกัดมณฑลทหารบกที่ 39 จังหวัดพิษณุโลก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ข้าราชการทหารที่มี ยศ อายุราชการ และเงินเดือน ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการทหารต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร สังกัดมณฑลทหารบกที่ 39 จังหวัดพิษณุโลก แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
กฤษณะ นันทะวิชัย. (2560). การพัฒนากำลังพลกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วย. ค้นคว้าอิสระ. บัณฑิตวิทยาลัย: วิทยาลัยการทัพบก.
กานต์นิธิ คำมอญ. (2561). การศึกษาปัจจัยที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสืบสวนของข้าราชการตำรวจในสังกัดกองบังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค 6. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการภาครัฐ คณะรัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.
ธนกร ศิริเรือง. (2560) . ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ปฏิวัติ จอมคำสิงห์. (2562). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนายทหารชั้นประทวน กองบัญชาการช่วยรบที่ 3 จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการปกครองส่วนท้องถิ่น คณะรัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.
สมคิด บางโม. (2553). การบริหาร. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
อภิสิทธิ์ จันทร์เชื้อ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหารชั้นประทวน สังกัดกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 17 จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการภาครัฐ คณะรัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.
อมรรัตน์ จันทร์เกตุ. (2560). ปัจจัยทำนายประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ สังกัดตำรวจภูธรภาค 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Nadler, L. & Wiggs, G.D. (1989). Managing human resources development. San Francisco, California : Jossey-Bass.